ชื่อวิทยาศาสตร์ :��� Psidium guajava� L.
ชื่อสามัญ :� Guava
วงศ์ :��� MYRTACEAE
ชื่ออื่น :� สุราษฎร์ธานี จุ่มโป่, ปัตตานี ชมพู่, เชียงใหม่ มะก้วย, เหนือ มะก้วยกา มะมั่น, แม่ฮ่องสอน มะกา, ตาก มะจีน, ใต้ ยามู ย่าหมู, นครพนม สีดา, จีนแต้จิ๋ว ปั๊กเกี้ย
��
ราก เป็นระบบรากแก้ว แตกเป็นรากแขนงจำนวนมาก และหยั่งลึกได้มากกว่า 2-5 เมตร |
|
�������
ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็นทรงพุ่ม สูงประมาณ 3-10 เมตร แตกกิ่งก้านบริเวณใกล้โคนต้น มีการแตกหน่อจากรากบริเวณใกล้กับลำต้น เปลือกมีสีน้ำตาลอมแดงหรือน้ำตาลอมเขียว เปลือกลอกออกเมื่อลำต้นแก่ กิ่งอ่อนมีปีกเล็ก ทำให้กิ่งมีรูปเป็นสี่เหลี่ยม กิ่งอ่อนมีสีเขียวอมเหลืองหรือแดงเข้ม มีขนปกคลุมหนาแน่น และจะหลุดหายเมื่อกิ่งแก่ กิ่งแก่สีน้ำตาลอมแดงไม่มีขนปกคลุม |
![]() |
�������
ใบ เป็นไม้ประเภทใบคู่ ใบอ่อนมีสีเขียว ผิวใบมีลักษณะไม่เรียบ มีขนอ่อนปกคลุม แตกออก 2 ใบ จากกิ่งตรงข้ามกัน ด้านบนใบมีร่องลึก แผ่นใบเป็นรูปไข่ ปลายมน กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 5-15 เซนติเมตร ด้านหลังใบเรียบ ด้านท้องใบมีขนอ่อนปกคลุม มีเส้นใบมองเห็นชัด เป็นนูนขึ้นมา ฐานใบโค้ง ขอบใบเรียบ และมีขอบโปร่งใส |
![]() |
�������
ดอก ดอกของฝรั่งจะมีเกสรตัวผู้ และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ดอกเกิดที่ตาข้างบริเวณเหนือซอกใบ มักไม่เกิดที่ตายอด เกิดเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ จำนวน 2-3 ดอกต่อช่อ ก้านดอกสีเขียวอมเหลือง มีขนปกคลุม เมื่อติดผลมีสีเขียวอ่อน มีกลีบรองดอก 4-6 อัน มีสีเขียวอมเหลือง มีขนอ่อนปกคลุม ดอกตูมจะมีกลีบเลี้ยงหุบห่อหุ้มดอกไว้ และจะแตกออกเมื่อดอกเริ่มคลี่บาน ชั้นกลีบเลี้ยงจะไม่ร่วงออกจนผลแก่ก็ยังติดอยู่ ชั้นกลีบดอกสีขาวรูปร่างรีขนาดเท่ากัน มีจำนวน 4-5 อัน เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก และแทรกอยู่รอบๆ อับเกสรสีเหลืองอ่อน และแตกตามความยาว เกสรตัวเมียมีรังไข่ 4-5 ช่อง ก้านเกสรตัวเมียเรียวยาว มีสีเขียวอมเหลือง ไม่มีขน ยอดเกสรตัวเมียมีตุ่มเล็กๆ |
![]() |
�������
ผล รูปร่างกลมหรือรูปไข่ เป็นป่องตรงปลาย เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-9 เซนติเมตร ยาว 5-12 เซนติเมตร ขึ้นกับพันธุ์ และความอุดมสมบูรณ์ของดิน รวมถึงปัจจัยการดูแล มีชั้นกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ปลาย เปลือกโดยทั่วไปเรียบ และขรุขระเล็กน้อย ผิวเปลือกเป็นมัน ผลอ่อนมีสีเขียวเข้ม ผลแก่มีสีเขียวอ่อน เมื่อสุกจะมีสีเหลืองอ่อนหรือสีเหลืองขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ เนื้อผลมีสีขาว สีขาวชมพู และเหลือง |
![]() |
�������
เมล็ด แทรกตัวในเนื้อชั้นในบริเวณใจกลางของผล เมล็ดอาจมีจำนวนมาก จำนวนน้อยหรือไม่มีเลย ขึ้นอยู่กับพันธุ์ เมล็ดมีลักษณะกลมมน สีเหลืองอ่อนหรือน้ำตาลอมเหลือง เปลือกเมล็ดมีลักษณะแข็งมาก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.2-0.3 เซนติเมตร และยาว 0.3-0.5 เซนติเมตร |
ฝรั่ง ถือเป็นไม้ผลที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อน เป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมรับประทานชนิดหนึ่งทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ลักษณะลำต้นเป็นไม้ทรงพุ่ม สูง 3-5 เมตร สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน และทนต่อความแล้ง และน้ำขังได้เล็กน้อย แต่โดยทั่วไปมักชอบเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย สภาพพื้นที่มีการระบายน้ำดี สามารถให้ผลผลิตได้ประมาณ 1 ปีหลังปลูก ผลสามารถเก็บได้ในช่วง 4-5 เดือน หลังติดดอก ซึ่ีงผลที่ได้จะติดผล และถึงระเก็บไม่พร้อมกันทั้งต้น โดยทั่วไปจะให้ผลได้ในช่วงปลายฤดูแล้งถึงต้นฤดูฝน คือ ช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ และสายพันธุ์ที่ปลูก
พันธุ์ที่ได้รับความนิยมปลูกในปัจจุบัน |
1. พันธุ์แป้นสีทอง ![]() |
2. พันธุ์ไร้เมล็ด ![]() |
3. พันธุ์กลมสาลี่ เป็นพันธ์ที่นิยมปลูกกันมากในช่วงแรกๆ ผลกลมแป้น ผิวเขียวอมเหลือง ขนาดผลปานกลาง รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย เนื้อหนาละเอียดแน่นกรอบ สีขาว ผลแก่สามารถปล่อยให้อยู่บนต้นได้เป็นเวลานาน |
4. พันธุ์กิมจู ![]() |
5. พันธุ์หวานพิรุณ ![]() |
6. พันธุ์แป้นไส้แดง ![]() |
7. พันธุ์เวียดนาม ลักษณะผลยาว ผิวไม่เรียบ เนื้อนิ่ม มีรสหวาน มีเมล็ดจำนวนมาก มีทั้งชนิดที่มีเนื้อสีแดงและสีขาว แต่ชนิดเนื้อสีแดงจะมีกลิ่นหอมกว่า |
8. พันธุ์ฮ่องเต้ ![]() |
การเตรียมดิน และการเตรียมแปลง สามารถทำได้ 2 รูปแบบตามสภาพพื้นที่ คือ
�������1. พื้นที่ดินเหนียว น้ำท่วมขังง่าย และมีระบบน้ำมากเกินพอ ให้ทำการขุดร่องลุกประมาณ 1 เมตร กว้าง 1-2 เมตร เพื่อเป็นแนวร่องสำหรับการให้น้ำ การเตรียมแปลง และการปลูกในลักษณะนี้มักพบในพื้นที่ลุ่มภาคกลางเป็นส่วนใหญ่
�������2. พื้นที่ทั่วไปที่มีระบบน้ำไม่เพียงพอ สามารถปลูกในแปลงโดยไม่ยกร่องหรือการยกร่องสูงประมาณ 30 ซม. ระยะห่างระหว่างร่องประมาณ 3-4 เมตร ทั้งนี้ ให้ทำการไถดะ 1 ครั้ง เพื่อตากดิน และกำจัดวัชพืช และไถแปร 1 ครั้ง โดยเว้นช่วงห่างประมาณ 1-2 อาทิตย์ หลังจากนั้นทำการไถยกร่อง
วิธีปลูก
1. ใช้กิ่งพันธุ์จากการตอนหรือการปักชำ
2. ขุดหลุมปลูก กว้าง ลึก ขนาด 50X50 เซนติเมตร แต่ละหลุมห่างกันประมาณ 3 เมตร ระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 3-4 เมตร หรือตามขนาดระยะห่างของร่อง
3. รองพื้นด้วยปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์ประมาณ 0.5 กิโลกรัม/หลุม หรือขนาด 1 พลั่วตัก พร้อมคลุกดินผสมก้นหลุมให้สูงประมาณ 1 ฝ่ามือ ทั้งนี้อาจผสมปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ในอัตรา 1 กำมือ/หลุมก็ได้
4. นำกิ่งพันธุ์ลงหลุมปลูก โดยกลบดินสูงเหนือปากหลุมเล็กน้อย ทั้งนี้ควรให้ดินกลบเหนือเขตรากสูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร
5. ใช้หลักไม้ปักหลุม และผูกเชือกยึดลำต้น
6. เมื่อปลูกเสร็จควรให้น้ำให้ชุ่มทันที
การให้น้ำ
เริ่มให้น้ำครั้งแรกหลังการปลูกเสร็จให้เปียกชุ่ม หลังจากนั้น ให้น้ำทุก 2 ครั้ง/วัน เช้า-เย็น จนต้นฝรั่งตั้งตัวได้ โดยอาจเลือกใช้ระบบการให้น้ำที่มีประสิทธิภาพ หลังจากนั้นอาจทำการให้น้ำน้อยลง ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ และความชุ่มชื้นของดิน ซึ่งไม่ควรปล่อยให้ดินแห้ง ขาดน้ำ โดยเฉพาะในช่วงติดผล แต่ในช่วงติดดอกไม่ควรให้น้ำมากซึ่งในช่วงนี้เพียงแค่ระวังไม่หน้าดินแห้งก็ เพียงพอ
การใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
- ช่วงปลูกจนถึงออกผลรุ่นแรก ในช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้องดูแลให้ฝรั่งเจริญเติบโตจนถึงให้ผลในรุ่นแรก ซึ่งการใส่ปุ๋ยจะใส่ปุ๋ยเป็นระยะเพื่อให้ต้นฝรั่งสามารถเจริญเติบโตได้ดี โดยอาจใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักผสมกับปุ๋ยเคมีในสูตร 12-12-0 ในอัตราส่วนปุ๋ยคอกต่อปุ๋ยเคมี 10:1 ในอัตรา 0.5 กิโลกรัม/ต้น ประมาณ 1-2 ครั้ง ก่อนการติดดอก
- ช่วงให้ผลผลิต ในช่วงที่ให้ผลิตในระยะออกดอกให้ใส่ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตราเดียวกัน และเมื่อก่อนที่ผลฝรั่งจะห่ามก่อนเก็บผลผลิตประมาณ 1 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 12-12-24 ในอัตราเดียวกัน
การกำจัดวัชพืช
ในระยะเริ่มปลูกจนถึงต้นอายุ 6 เดือน หลังปลูก ให้กำจัดวัชพืชรอบโคนต้นทุกๆ 1 ครั้ง/เดือน ร่วมด้วยกับการไถกลบ หลังจากเมื่อต้นแตกกิ่งแล้วอาจทำการกำจัดวัชพืชน้อยลงก็ได้
การตัดแต่งกิ่ง
การตัดแต่งกิ่งจะตัดกิ่งที่มีอายุมากแล้วออกเพื่อให้กิ่งใหม่ขึ้นแทน เพราะหากใช้กิ่งที่ให้ผลมาแล้วตั้งแต่ 3 ปี จะทำให้ผลที่ได้มีขนาดเล็กลง สำหรับกิ่งที่ยาวมากทั้งด้านข้างหรือในแนวสูงให้ตัดปลายกิ่งออก เพื่อให้มีลักษณะทรงพุ่มที่พอเหมาะสำหรับการเก็ฐผล ไม่กว้างหรือไม่สูงเกินไป นอกจากนั้น การตัดแต่งกิ่งยังช่วยในเรื่องการถ่ายเทของลมได้ดี แสงแดดสามารถส่องได้ทั่วถึงในทรงพุ่ม
การห่อผล
�������เป็นวิธีการที่ใช้ในการป้องกันการกัดกินผลของแมลง และสัตว์ต่างๆ รวมถึงเชื้อราหรือสภาพแวดล้อมต่างๆที่อาจทำให้ผลเสียรูปไม่สวยงามได้ มีขั้นตอนการห่อ ดังนี้
�������- ก่อนการห่อให้ฉีดพ่นผลด้วยยากำจัดเชื้อราก่อน หรือหากต้องการใช้วิธีธรรมชาติให้ฉีดพ่นด้วยน้ำต้มสมุนไพร อาทิ บรเพ็ด สะเดา เป็นต้น
�������- วัสดุที่ใช้ควรเป็นกระดาษชนิดเคลือบมัน หากใช้ถุงพลาสติกให้ห่อทับด้วยกระดาษอีกชั้น
�������- การห่อเริ่มด้วยการม้วนกระดาษเป็นวงกลมตามขนาดของผล และสวมครอบผล พร้อมรัดกระดาษ หรือพลาสติกด้วยสายรัด ณ จุดที่เป็นกิ่งของผลจะดีที่สุด
การปลิดผล
�������
เป็นวิธีการปลิดผลดิบให้เหลือผลเพียง 2-3 ผล/กิ่ง เพื่อให้ลูกที่เด่น และสมบูรณ์ที่สุดเจริญเติบโต ซึ่งการปลิดผลดิบจะเริ่มปลิดผลเมื่อผลทั้งหมดติด และโต ขนาดประมาณเท่าลูกมะนาว โดยให้ทำการเลือกปลิดผลที่มีขนาดเล็กสุดออก ให้เหลือผลที่มีขนาดใหญ่ไว้เพียงจำนวนข้างต้น
การเก็บผลผลิต
การเก็บผลควรเก็บผลที่แก่หรือกำลังห่าม ซึ่งโดยทั่วไปจะมีอายุประมาณ 4-5 เดือน (ไม่ควรเก็บผลที่ยังไม่ห่ามหรือผลที่ไกล้สุก) ลักษณะผลที่เหมาะสมต่อการเก็บจะสังเกตได้จากสี และผิวของผล ซึ่งจะมีลักษณะสีตามสายพันธุ์ เช่น แป้นสีทองผลที่ได้ระยะเก็บจะมีสีเขียวอ่อนออกเหลือง ผิวมีลักษณะเต่งตึง ขั้วผลเรียวเล็กสีเขียวอ่อน การเก็บจะใช้กรรไกรตัดชิดขั้วผล รวบรวมใส่กะบะพลาสติก พร้อมนำเข้าร่มทำความสะอาด รอส่งจำหน่าย
1. แมลงวันทอง ![]() การทำลายเกิดจากแมลงวันทองวางไข่ที่ใต้ผิวฝรั่งสุก (หรือระยะที่ผิวผิวอ่อน) ตัวอ่อนที่ฟักจากไข่จะเจริญกินเนื้อฝรั่งเป็นอาหารทำให้ฝรั่งอ่อนนิ่มและเละ ในที่สุด |
2. เพลี้ยแป้ง ![]() จะดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบอ่อน กิ่งอ่อน และช่อดอกทำให้แห้งเฉาหรือใบผิดรูปร่างและผลผลิตลดลง |
1. โรคจุดสนิม![]() เกิดจากเชื้อราเข้าทำลายใบ โดยจะเห็นจุดขนาดเล็ก เริ่มจากจุดสีเขียวแล้วค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีสนิมเหล็กและเป็นขุยคล้ายกำมะหยี่ ถ้าเป็นที่กิ่งจะทำให้เป็นขุยและกิ่งแตกแห้งตาย
|
2. โรคแอนแทรคโนส
เกิดจากเชื้อราเข้าทำลายผลอ่อน ผลสุกและใบ อาการบนใบจะเห็นเป็นจุดสีน้ำตาลเล็ก ๆ แผลอาจทะลุ ถ้าเป็นที่ผลอ่อนจะทำให้มีสีน้ำตาลและเน่าแห้งไปในที่สุด แต่ถ้าเป็นระยะผลสุกหรือใกล้สุก จะเกิดแผลเน่าสีน้ำตาล อาการจะลุกลาม แผลจะบุ๋มลงเล็กน้อยมีจ้ำสีคล้ำและเมือกสีแสดปรากฏให้เห็น การป้องกัน ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราก่อนห่อผล เช่น ดูโอ 400 แคบแทน โปรคลอราช |