ชื่อวิทยาศาสตร์:��� Orchid |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
ต้น |
ใบ |
ดอก |
ฝัก/ผล� |
เมล็ด |
1. การจำแนกตามลักษณะราก
����เป็นการจำแนกตามลักษณะรากหรือตามระบบรากของกล้วยไม้
ระบบรากดิน |
![]() |
ระบบรากกึ่งดิน |
![]() |
ระบบรากกึ่งอากาศ |
![]() |
ระบบรากอากาศ |
![]() |
2. การจำแนกตามลักษณะต้น
�����สำหรับลำต้นของกล้วยไม้ที่โผล่พ้นจากเครื่องปลูกแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ลำต้นแท้ และลำต้นเทียม
ลำต้นแท้ |
![]() |
ลำต้นเทียม |
![]() |
1. กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี ( Paphiopedilum)
มีชื่อเรียกอื่นๆ อีกหลายชื่อ เช่น รองเท้านาง รองเท้าแตะนารี หรือ บุหงากะสุต ในภาษามาเลเซีย อันหมายถึงรองเท้าของสตรี เนื่องจากกลีบดอก หรือที่เรียกว่า กระเป๋า มีรูปร่างคล้ายกับรองเท้าของสตรีและรองเท้าไม้ของชาวเนเธอแลนด์ กระเป๋าของรองเท้านารีมีรูปร่างลักษณะและสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์
กล้วยไม้รองเท้านารี มีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น และเขตร้อนแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินเดีย ฟิลิปปินส์ พม่า มาเลเซีย และในประเทศไทยซึ่งพบกล้วยไม้รองเท้านารีขึ้นอยู่ในป่าทั่วๆ ไป บางชนิดเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพวกที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินหรือซอกหินที่มีต้นไม้ใบหญ้าเน่าตายทับถมกัน เจริญงอกงามในที่โปร่ง ไม่ชอบที่รกทึบ แสงแดดส่องถึง��
![]() |
![]() |
![]() |
รองเท้านารีอินทนนท์ |
รองเท้านารีเหลืองปราจีน |
รองเท้านารีเมืองกาญจน์ |
![]() |
![]() |
![]() |
รองเท้านารีอ่างทอง |
รองเท้านารีสุขะกุล |
รองเท้านารีเหลืองกระบี่ |
![]() |
![]() |
![]() |
รองเท้านารีคางกบ |
รองเท้านารีฝาหอย |
รองเท้านารีขาวสตูล |
![]() |
![]() |
![]() |
รองเท้านารีเหลืองตรัง |
รองเท้านารีเหลืองพังงา |
รองเท้านารีม่วงสงขลา |
2. กล้วยไม้สกุลแคทลียา� (Catteya)
แคทลียาเป็นกล้วยไม้ที่ ได้รับความนิยมปลูกเลี้ยงอย่างกว้างขวางในหลายประเทศ เนื่องจากแคทลียา เป็นกล้วยไม้ที่มีดอกขนาดใหญ่ที่สุด� และสีสวยงามที่สุดบางชนิดมีกลิ่นหอม และถือ กันว่าแคทลียาเป็น ราชินีแห่งกล้วยไม้ และเป็นสัญญลักษณ์สากลของกล้วยไม้ทั่วไป แคทลียาเป็นกล้วยไม้ที่มีถิ่น กำเนิด�� อยู่ในเขตร้อนแถบอเมริกากลาง และอเมริกาใต้ตอนเหนือเป็นกล้วยไม้ที่เจริญเติบโต และมีรูปทรงแบบ ซิมโพเดี้ยล คือมีเหง้าแนบ ไปตามเครื่องปลูก เหง้าอาจจะมีทั้งยาวและสั้นรากงอกเจริญจากเหง้าไม่มี รากแขนง เป็นระบบรากกึ่งอากาศดูดอาหารจากอากาศและเครื่องปลูก�
![]() |
![]() |
![]() |
แคทลียา1 |
แคทลียา2 |
แคทลียา3 |
![]() |
![]() |
![]() |
แคทลียาลูกผสม2สกุล (ลีลิโอแคทลียา) |
แคทลียาลูกผสม2สกุล (บรัสโซแคทลียา) |
แคทลียาลูกผสม2สกุล (เอพิแคทลียา) |
![]() |
![]() |
![]() |
แคทลียาลูกผสม3สกุล (บรัสโซลีลิโอแคทลียา) |
แคทลียาลูกผสม3สกุล (เอพิลีลิโอแคทลียา) |
แคทลียาลูกผสม3สกุล (เอพิคาโทเนีย) |
![]() |
![]() |
![]() |
แคทลียา4 |
แคทลียาลูกผสม2สกุล (ชอมบูแคทลียา) |
แคทลียาลูกผสม3สกุล (ดีเคนสารา) |
3. กล้วยไม้สกุลเข็ม� (Ascocentrum)�
ได้สมญาว่าเป็น�� ราชินีของกล้วยไม้แวนด้าแบบมินิ หรือ แบบกระเป๋าเพราะเป็นกล้วยไม้ที่มีลักษณะเล็กทั้งขนาดต้นช่อดอกขนาดดอกและมีดอกที่มีสีสดใสสะดุดตามากกว่ากล้วยไม้ อื่นๆ ในธรรมชาติพบ� กล้วยไม้สกุลนี้� กระจายพันธุ์อยู่ใน� ทวีปเอเชีย ตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทยลงไปถึง อินโดนีเซีย และ�� ฟิลิปปินส์� จัดเป็นกล้วยไม้�� ประเภทไม่แตกกอ�� มีการเจริญเติบโตขึ้นไปทาง ส่วนยอด เช่น เดียวกับกล้วยไม้สกุลช้าง สกุลแวนด้า สกุลกุหลาบ มีลำต้นสั้นใบเรียงแบบซ้อนทับกันรากเป็นระบบรากอากาศ ออกดอก ตามข้อของลำต้น� ระหว่างใบ ช่อดอกตั้งตรงเป็นรูปทรงกระบอก จัดเป็นกล้วยไม้ประเภทแวนด้า ที่มีดอกขนาดเล็ก ในประเทศไทยมีกล้วยไม้ สกุลเข็มแท้อยู่ 4� ชนิดคือ เข็มแสด เข็มแดง เข็มม่วง และเข็มหนู แต่ ที่มีบทบาทสำคัญในการผสมปรับปรุงพันธุ์ คือ เข็มแดง เข็มแสด และเข็มม่วง
![]() |
![]() |
เข็มแดง |
เข็มแสด |
![]() |
![]() |
เข็มม่วง |
เข็มหนู |
4. กล้วยไม้สกุลแวนด้า�� (Vanda)�
�������แวนด้าเป็นกล้วยไม้ ประเภทโมโนโพเดี้ยล ไม่แตกกอ เจริญเติบโตไปทางยอด รากเป็นรากอากาศ ใบมีลักษณะกลม แบนหรือร่อง ใบซ้อนสลับกัน ช่อดอกจะออกด้านข้างของลำต้น สลับกับใบ ช่อดอกยาวและแข็ง กลีบนอกและกลีบในมีรูปร่างคล้ายคลึงกัน โคนกลีบแคบ และไปรวมกันที่โคน เส้าเกสร กลีบดอกในล่างด้านใต้มีเดือยแหลมยื่นออกมาเป็นส่วนท้ายของปากกระเป๋าปาก กระเป๋าของแวนด้าเป็นแบบธรรมดาแบนเป็นแผ่นหนาแข็ง และพุ่งออกด้านหน้า รูปลักษณะคล้ายช้อน หูกระเป๋าทั้งสองข้างแข็ง และตั้งขึ้น สีดอกมีมากมายแตกต่างกันตามแต่ละชนิด
![]() |
![]() |
แวนด้าใบกลม |
แวนด้าใบแบน |
![]() |
![]() |
แวนด้าก้างปลา |
แวนด้าใบร่อง |
5. กล้วยไม้สกุลกุหลาบ (Aerides)
�������เป็นกล้วยไม้ที่พบตามธรรมชาติในป่าทั่วทุกภาคของประเทศไทยและประเทศใน�� แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้อาจขึ้น เป็นต้นเดียวโดดๆหรือขึ้นเป็น กลุ่มใหญ่มีการเจริญ เติบโตแบบฐานเดี่ยวบางต้นมียอดเดียวบางต้นแตกเป็นกอมีหลายยอดเมื่อต้นสูงหรือยาวขึ้นจะห้อยย้อยลงมาแต่ปลาย ยอด ยังคงชี้ขึ้นข้างบนช่อดอกส่วนใหญ่ โค้งปลายช่อห้อยลงมารากเป็น ระบบรากอากาศดอกมี ขนาดปานกลางมักมีกลิ่นหอมมีเดือยดอกเรียวแหลมหรือปลายงอนออกมาทางด้านหน้าของดอกซึ่งเป็น ลักษณะที่แตกต่างกับกล้วยไม้ชนิด อื่นๆ กลีบดอกผึ่งผายสวยงามสะดุดตาเป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่ายมี บทบาทสำคัญในการผสมพันธุ์เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ สามารถผสมในสกุลเดียวกัน และผสมข้ามสกุลต่างๆ เช่นผสมกับสกุลแวนด้าเป็นสกุลแอริโดแวนด้า (Aeridovanda) ผสมกับสกุลช้างเป็นสกุลแอริโดสไตลิส(Aeridostylis)
![]() |
![]() |
กุหลาบกระเป๋าปิด |
กุหลาบกระเป๋าเปิด |
![]() |
![]() |
กุหลาบอินทจักร |
กุหลาบน่าน |
![]() |
![]() |
กุหลาบเหลืองโคราช |
กุหลาบมาลัยแดง |
![]() |
![]() |
กุหลาบแดง |
กุหลาบพวงชมพู |
6. กล้วยไม้สกุลฟาแลนอปซีส�� (Phalaenopsis)�
�������มีแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติ� และกระจายพันธุ์อยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ บอร์เนียว ชวา สุมาตรา มาเลเซีย สำหรับประเทศไทย มีกล้วยไม้สกุลนี้อยู่ 2-3 ชนิด เช่น เขากวาง กาตาฉ่อ ขนาดของดอกใหญ่และเล็กตามลักษณะ ของพันธุ์ แต่ที่นิยมปลูกกันอยู่ในขณะนี้เป็นพันธุ์ลูกผสมที่มีการปรับปรุงพันธุ์และผสมกันมา หลายทอดจนดอกกลม ใหญ่ลักษณะของลำต้นทรงเตี้ยตรง การเจริญเติบโตเป็นแบบโมโนโพเดี้ยลใบอวบน้ำ ค่อนข้าง หนาแผ่แบนรูป คล้ายใบพาย ดอกกลมใหญ่ ขนาดกว้างประมาณ 5-8 ซม. กลีบหนา ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีชมพู สีเหลือง มองดูดอกแล้วงาม ทั้งฟอร์มดอกและสี ก้านช่อยาว บางช่อยาวถึง 80 ซม.ช่อหนึ่ง มีหลายดอก เรียงไปตามก้านช่ออย่างมีระเบียบ บางต้นแยกออกเป็นหลายช่อ ดอกบานทน ถ้าบานอยู่กับต้น สามารถบานอยู่ ได้นานเป็นเดือน เป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่ายสามารถเจริญงอกงามและออกดอกให้ได้ดีใน สภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ กัน นอกจากนี้ยังสามารถผสมข้ามสกุลกับสกุลกล้วยไม้สกุลต่างๆ ได้หลายสกุล เช่น ผสมกับสกุลแวนด้า ผสมกับสกุลอะแรคนิส ผสมกับสกุลเรแนนเทอร่า เป็นต้น
![]() |
![]() |
เขากวาง |
กาตาฉ่อ |
7. กล้วยไม้สกุลช้าง� (Rhynchostyliis)��
ที่มีอยู่ในโลกมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย พม่า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ประเทศในแถบอินโดจีน อินเดีย ศรีลังกา ภาคใต้ของหมู่เกาะในทะเลจีน และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก สำหรับในประเทศไทยพบว่ากล้วยไม้สกุลช้างมีกระจายพันธุ์อยู่ทุกภาคของประเทศ บางภาคอาจมีกล้วยไม้สกุลช้างชนิดหนึ่งแต่อาจไม่มีอีกชนิดหนึ่ง กล้วยไม้สกุลช้างที่พบตามธรรมชาติเพียง 4 ชนิด คือ ช้าง (Rhynchostylis gigantea) ไอยเรศหรือพวงมาลัย (Rhynchostylis retusa) เขาแกะ (Rhynchostylis coelestis) และช้างฟิลิปปินส์ (Rhynchostylis violacea) สำหรับ 3 ชนิดแรกมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย และ ประเทศใกล้เคียง ส่วนช้างฟิลิปปินส์มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศฟิลิปปินส์
![]() |
![]() |
ไอยเรศ |
เขาแกะ |
8. กล้วยไม้สกุลหวาย(Dendrobium)
�������เป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ที่สุด มีการแพร่กระจายพันธุ์ออกไปในบริเวณกว้างทั้งในทวีปเอเซียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก นักพฤกษศาสตร์ได้จำแนกออกเป็นหมู่ประมาณ 20 หมู่ และรวบรวมกล้วยไม้ชนิดนี้ที่ค้นพบแล้วได้ประมาณ 1,000 ชนิดพันธุ์
�������กล้วยไม้สกุลหวาย มีลักษณะการเจริญเติบโตแบบซิมโพเดียล คือ มีลำลูกกล้วย เมื่อลำต้นเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะแตกหน่อเป็นลำต้นใหม่และเป็นกอ ใบแข็งหนาสีเขียว ดอกมีลักษณะทั่วไปของกลีบชั้นนอกคู่บนและคู่ล่างขนาดยาวพอๆ กันโดยกลีบชั้นนอกบนจะอยู่อย่างอิสระเดี่ยวๆ ส่วนกลีบชั้นนอกคู่ล่างจะมีส่วนโคน ซึ่งมีลักษณะยื่นออกไปทางด้านหลังของส่วนล่างของดอกประสานเชื่อมติดกับฐานหรือสันหลังของเส้าเกสร และส่วนโคนของกลีบชั้นนอกคู่ล่างและส่วนฐานของเส้าเกสรซึ่งประกอบกันจะปูดออกมา มีลักษณะคล้ายเดือยที่เรียกว่า เดือยดอก สำหรับกลีบชั้นในทั้งสองกลีบมีลักษณะต่างๆ กันแล้วแต่ชนิดพันธุ์ของกล้วยไม้นั้นๆ
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
เอื้องผึ้ง |
เอื้องม่อนไข่ |
เหลืองจันทบูร |
พวงหยก |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
เอื้องช้างน้าว |
มัจฉานุ |
เอื้องเงินหลวง |
เอื้องเงิน |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
เอื้องเงินแดง |
เอื้องมะลิ |
เอื้องสายประสาท |
เอื้องไม้ตึง |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
เอื้องแปรงสีฟัน |
เอื้องครั่ง |
เอื้องคำ |
แววมยุรา |
9. กล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตา(Bulbophyllum)
�������เป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ พบตามธรรมชาติประมาณ 1,000 ชนิด มากเป็นอันดับสองรองจากกล้วยไม้สกุลหวาย พบกระจายพันธุ์แถบทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเชีย แถบแปซิฟิก เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ หมู่แกะแปซิฟิก และบางส่วนกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปแอฟริกา สำหรับประเทศไทยพบกระจัดกระจายตามธรรมชาติในทั่วทุกภาคของประเทศประมาณ 140 ชนิด และแต่ละชนิดมักใช้คำว่า "สิงโต" นำหน้า กล้วยไม้สิงโตกลอกตาเป็นกล้วยไม้ที่มีการเติบโตแบบ Sympodial เช่นเดียวกับ กล้วยไม้สกุลหวาย สกุลคัทลียา มีเหง้าและลำลูกกล้วย ซึ่งต่างกันแล้วแต่ชนิด มีทั้งชนิดที่มีลำลูกกล้วยขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ บางชนิดลำลูกกล้วยตั้งตรง บางชนิดนอนราบไปกับเหง้า มีใบที่ปลายลำลูกกล้วยหนึ่งหรือสองใบแล้วแต่ชนิด มีตั้งแต่ใบเล็กมากจนถึงใบค่อนข้างใหญ่ ดอกมีทั้งดอกเดี่ยวและดอกช่อ ก้านช่อดอกเกิดที่ฐานของลำลูกกล้วย บางชนิดเกิดที่ข้อของเหง้า ดอกมีตั้งแต่ขนาดเล็กมากจนถึงค่อนข้างใหญ่ ลักษณะดอกและสีสันสวยงามแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สิงโตพัดแดง |
สิงโตร่มใหญ่ |
สิงโตก้ามปูแดง |
สิงโตอาจารย์เต็ม |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สิงโตสยาม |
สิงโตงาม |
สิงโตรวงข้างฟ่าง |
สิงโตรวงข้าว |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สิงโตรวงทอง |
สิงโตตาแดง |
สิงโตแดง |
สิงโตนกเหยี่ยวใหญ่ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สิงโตนกเหยี่ยวเล็ก |
สิงโตสมอหิน |
สิงโตใบพาย |
สิงโตลินด์เลย์ |
วิธีการปลูกเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยบังคับการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ ถ้าใช้วิธีการปลูกที่ไม่เหมาะสมกล้วยไม้ก็ไม่เจริญงอกงามเท่าที่ควร ดังนั้นผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ จึงจำเป็นต้องศึกษาความต้องการของกล้วยไม้แต่ละชนิด เลือกภาชนะปลูกและเครื่องปลูก รวมทั้งวิธีการปลูกให้เหมาะสมกับกล้วยไม้ชนิดนั้นๆ
ภาชนะที่ใช้ในการปลูกกล้วยไม้มีส่วนสำคัญต่อการเจริญงอกงามของกล้วยไม้� ดังนั้นจึงควรจัดภาชนะปลูก ให้เหมาะกับการเจริญของรากกล้วยไม้แต่ละประเภท ภาชนะสำหรับ ปลูกกล้วยไม้มีหลายชนิด ดังนี้ |
|
กระถางดินเผาทรงเตี้ย |
![]() |
กระถางดินเผาทรงสูง |
![]() |
กระเช้าไม้สัก |
![]() |
กระเช้าพลาสติก |
![]() |
กระถางดินเผามีรูก้นกระถาง |
![]() |
ท่อนไม้ที่มีเปลือก |
![]() |
ต้นไม้ใหญ่ |
![]() |
วัสดุที่ใส่ลงไปในภาชนะที่ใช้ปลูกกล้วยไม้ เป็นที่เก็บอาหารเก็บความชื้น หรือปุ๋ยของกล้วยไม้ และเพื่อให้ รากของกล้วยไม้เกาะลำต้นจะได้ตั้งอยู่ได้ เครื่องปลูกที่เหมาะสมกับลักษณะการเจริญเติบโตของรากกล้วยไม้ จะทำให้กล้วยไม้เจริญเติบโตได้ดีและแข็งแรง วัสดุที่นิยมใช้มีดังนี้ |
|
![]() |
กาบมะพร้าว |
![]() |
ถ่าน |
![]() |
ออสมันด้า |
![]() |
อิฐหักและกระถางดินเผาแตก |
การล้างลูกกล้วยไม้ |
![]() |
การปลูกลูกกล้วยไม้ขนาดเล็ก |
![]() |
การปลูกลูกกล้วยไม้ขนาดใหญ่ |
![]() |
การปลูกลงในกระเช้า |
![]() |
การย้ายภาชนะปลูก |
![]() |
การตกแต่งกล้วยไม้ต้นใหญ่ก่อนปลูก |
![]() |
การเจริญเติบโตของกล้วยไม้
![]() การให้น้ำ น้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ต้นอ่อนและต้นที่โตแล้วจะต้องเป็นน้ำที่ใสสะอาดไม่มีตะกอนขุ่น ไม่มีกลิ่น มีความเป็นกรดอ่อน ถึงเป็นกลาง คือมีค่า pH ประมาณ 5-7 เพราะน้ำที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ จะช่วยละลายธาตุอาหารบางอย่าง เช่นพวกเกลือฟอสเฟตให้ต้นกล้วยไม้ดูดเอาไปใช้เป็นอาหารได้ดี และปริมาณเกลือแร่ต่าง ๆ ที่ละลายในน้ำมีน้อย น้ำฝนเป็นน้ำรดกล้วยไม้ที่ดีที่สุด รองลงไปคือน้ำประปา ส่วนน้ำบาดาลนั้นแต่ละท้องที่อาจจะมีเกลือแร่ต่าง ๆ เจือปนอยู่ไม่เหมือนกัน ควรตรวจสอบก่อนใช้ และอาจต้องกรองแยกสนิมเหล็ก รวมทั้งปรับค่า pH ให้พอเหมาะเสียก่อน หากใช้ไปแล้วประมาณ 2-3 ปี คุณภาพของน้ำบาดาลก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นได้ น้ำจากแม่น้ำ ลำคลองที่สะอาด ไม่มีขยะเจือปน ก่อนใช้ควรกรองหรือปล่อยให้ตกตะกอนและปรับระดับค่า pH ส่วนน้ำบ่อนั้นหากเป็นบ่อขุดใหม่อาจมีเกลือแร่ที่เป็นอันตรายต่อกล้วยไม้อยู่มาก ควรตรวจสอบก่อนใช้เช่นกัน
![]() อุปกรณ์สำหรับให้น้ำกล้วยไม้ มีดังนี้ (1) เครื่องพ่นน้ำขนาดเล็กแบบสูบลมด้วยมือ เหมาะสำหรับใช้พ่นน้ำแก่ลูกกล้วยไม้อ่อน (2) บัวรดน้ำชนิดฝอยละเอียด มีก้านบัวยาว เพื่อสามารถสอดก้านเข้าไปรดกระถางหรือกระเช้าซึ่ง แขวนอยู่บนราวในเรือนกล้วยไม้ได้สะดวก (3) หัวฉีดต่อกับสายยาง หัวฉีดเป็นชนิดที่พ่นน้ำเป็นละอองฝอยมีแรงกระแทกต่ำ ใช้รดน้ำได้สะดวก รวดเร็ว เหมาะสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เป็นจำนวนมาก (4) ระบบฝนเทียม ทำได้โดยการติดตั้งหัวฉีดพ่นน้ำเป็นฝอยไว้ทั่วเรือนกล้วยไม้เมื่อเปิดก๊อกหรือเดินเครื่องสูบน้ำ ก็จะมีฝอยน้ำทั่วโดยไม่ต้องใช้คนถือหัวฉีด ใช้เวลาน้อยแต่ควบคุมปริมาณการให้น้ำในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ให้มากน้อยได้ง่าย วิธีการให้น้ำลูกกล้วยไม้ในกระถางหมู่หรือกระถางนิ้วนั้น ในระยะ 2-3 วันแรกยังไม่ควรให้น้ำเนื่องจากได้รับความกระทบกระเทือนจากการนำออกจากขวดเพาะและการปลูก อาจทำให้รากหรือใบเน่าได้ง่าย หลังจากนั้นจึงพ่นน้ำเป็นละอองพอชื้น ๆ ด้วยเครื่องพ่นน้ำแบบสูบลมด้วยมือ วันละ 1-2 ครั้ง คือตอนเช้าและเย็น เมื่อนำกระถางหมู่หรือกระถางนิ้วไปไว้ในเรือนเลี้ยงกล้วยไม้แบบโปร่งแล้ว พ่นน้ำให้วันละ 2-3 ครั้ง ต่อมาเมื่อลูกกล้วยไม้เจริญเติบโตดี มีรากแข็งแรง และเดินได้ดีแล้วอาจจะรดด้วยบัวรดน้ำก็ได้
|
โรคราดำ ![]() เป็นโรคที่พบเสมอกับกล้วยไม้ที่เลี้ยงไว้กับต้นไม้ใหญ่ ซึ่งตัวเชื้อรานั้นไม่ทำอันตรายต่อต้นและดอกเพียง แต่มันไปเกาะบนผิวเท่านั้น แต่อาจส่งผลมากถ้ามีการเกาะมากขึ้น ทำให้สังเคราะห์แสงได้น้อยลง สาเหตุ: เกิดจากเชื้อรา Meliola sp อาการของโรค: บริเวณใบและลำลูกล้วยไม้จะถูกปกคลุมด้วยผงดำๆ ของใยและสเปอร์ของเชื้อรามองดูคล้ายผงเขม่า ทำให้กล้วยไม้สกปรก การแพร่ระบาด: เชื้อราแพร่มาจากไม้ต้นใหญ่ เช่น มะม่วง ส้มโดยสเปอร์ปลิวมากับลมหรือติดมากับแมลงแล้ว ยังอาจแพร่ไปยังกล้วยไม้ต้นอื่นๆได้ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเป็นโรค: เชื้อรานี้มักขึ้นตามหยดน้ำหวาน หรือมูลที่เพลี้ยอ่อนเพลี้ยแป้งถ่ายออกมา และมักพบในบริเวณใกล้หรือใต้ต้นไม้ใหญ่ การป้องกัน - แยกหรือทำลายต้นที่เป้นโรค - ใช้ยาฆ่าแมง ฉีดป้องกัน เช่น คาร์บาริล - ใช้ยาฆ่าเชื้อรา เช่น เบนโนมิล หรือ แมนโคเซบร่วมด้วยสารฟอสเฟต อัตรา 30-40 กรัม/ลิตร ฉีดพ่นเมื่อพบโรค7-10 วัน |
โรคเน่า ![]() เป็นโรคที่สำคัญ ระบาดได้กับกล้วยไม้ทุกชนิด โดยเฉพาะกล้วยไม้ตระกูล หวาย แคทลียา ฟาแลนอปซิส เป็นต้น ลักษณะอาการเริ่มแรกเป็นจุดฉ่ำน้ำขนาดเล็กบนใบหรือหน่ออ่อน จากนั้นแผลจะเริ่มขยายขนาดขึ้น และเนื้อเยื่อเหมือนจะถูกน้ำร้อนลวก คือใบจะพองเป็นสีน้ำตาลและอาการเป้นจุดฉ่ำน้ำบนใบจะมีขอบสีเหลืองเห็นชัดเจน ภายใน 2 - 3 วัน เนื้อเยื่อใบกล้วยไม้จะโปร่งแสงเห็นร่างแหของเส้นใบ ถ้ารุนแรงต้นอาจตายได้ การแพร่ระบาดโรคจะเเพร่ระบาดรุนแรงรวดเร็วในสภาพอากาศร้อนและความชื้นสูง เช่นช่วงอากาศอบอ้าวก่อนที่ฝนจะตก การป้องกัน - เผาทำลายต้นเป็นโรค - ลูกกล้วยไม้ควรปลูกในโรงเรือน และถ้าเกิดมีโรคนี้เข้าแทรกซึม ควรงดให้น้ำสักระยะอาการเน่าจะหยุด ชะงักไม่ลุกลาม ระวังการให้น้ำมากเกินไปจนแฉะ -ไม่ควรปลูกกล้วยไม้แน่นเกินไป เพราะเครื่องปลูก จะอุ้มน้ำหรือชื้นแฉะตลอดเวลาเมื่ออากาศภายนอกร้าวอบอ้าว อากาศในเรืองเรือน จะทำให้เกิดเป็นโรคง่ายการให้ปุ๋ยไนรโตรเจนสูงมากเกินไปและมีโปแตสเซียมน้อย ทำให้ใบอวบหนา และการให้ปุ๋ยไม่ถูกสัดส่วนเร่งการเจริญเติบโต รวดเร็วต่อเนื่องเป็นเวลานานในช่วงฤดูร้อน เมื่อถึงฤดูฝนจะเกิดปัญหาโรคนี้ระบาด ทำให้ต้นอวบเหมาะแก่การเกิดโรค - การใช้สารเคมีป้องกันกำจัด ใช้สารปฏิชีวะนะ เช่น แอกกริมัยซิน ไฟโตมัยซิน แอกกริสสเตรป อัตรา 10-20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร แต่สารประเภทนี้มีข้อจำกัด ควรพ่นในช่วงเย็น เพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดดซึ่ง อาจทำให้สารเสื่อมฤทธิ์และไม่ควรผสมกับสารอื่นๆ ทุกชนิด หลักสำคัญในการป้องกันโรคโดยทั่วไป 1. บำรุงกล้วยไม้ให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์ 2. การให้น้ำคำนึงถึงเวลาและอัตราที่เหมาะสม 3. ทำความสะอาดฆ่าเชื้อเครื่องมือเครื่องใช้ในการตัด 4. พักและแยกกล้วยไม้ที่นำเข้ามาใหม่ 5. ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันและหลังการใช้ทุกครั้ง 6. อย่านำกล้วยไม้ที่เป็นโรคไปแพร่เชื้อ 7. ศึกษาที่มาของโรค 8. ศึกษานิสัยกล้วยไม้ที่ปลูก 9. แยกกล้วยไม้ที่เป็นโรคออกรักษา 10. น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำสะอาด |
โรคแอนแทรกโนส ![]() สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Collectotrichum sp. เป็นโรคหนึ่งที่พบเสมอในกล้วยไม้สกุลออนซิเดี้ยม สกุลแคทลียา สกุลแวนด้า สกุลหวาย สกุลแมลงปอ ปอมปาดัวร์ และลูกผสมของกล้วยไม้สกุลต่างๆ เหล่านี้เชื้อราสามารถแพร่กระจายไปกับลมและฝนหรือน้ำที่ใช้รด ลักษณะอาการ ใบจะเป็นแผลวงกลมสีน้ำตาลอมแดงหรือสีน้ำตาลไหม้ ซึ่งขยายออกไปเป็นแผลใหญ่เห็นเป็นวงกลมซ้อนกันหลายชั้น เนื้อเยื่อที่เป็นแผลบุ๋มลึกลงไปต่ำกว่าระดับผิวใบเล็กน้อย กล้วยไม้บางชนิดมีขอบแผลเป็นเนื้อเยื่อสีเหลืองล้อมรอบแผล เช่น ลักษณะแผลของพวกแมลงปอ ฯลฯ บางชนิดแผลมีขอบสีน้ำตาลเข้มกว่าภายในและไม่มีขอบแผลสีเหลืองเลย เช่น แผลของกล้วยไม้ดินบางชนิด เนื้อเยื่อของแผลนานเข้าจะแห้งบางผิดปกติ ขนาดของแผลแตกต่างกันแล้วแต่สภาพแวดล้อม บางแห่งมีเชื้อราอื่นมาขึ้นร่วมภายหลังทำให้แผลขยายกว้างออกไปจนมีลักษณะที่เป็นแผลวงกลม อย่างอาการเริ่มแรกกล้วยไม้ที่มีใบอวบอมน้ำมาก เช่น แคทลียา ลูกผสมแมลงปอ และกล้วยไม้ดินบางชนิดใบจะเน่าเปื่อยถ้าฝนตกชุก แต่โดยปกติจะเป็นแผลแห้งติดอยู่กับต้น การป้องกันและกำจัด โดยเก็บรวบรวมใบที่เป็นโรคไปเผาทำลายเสีย เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่ระบาดต่อไป และฉีดยาป้องกันกำจัดเชื้อราทุกๆ 7-15 วันต่อครั้งส่วนฤดูฝนต้องฉีดพ่นเร็วกว่ากำหนด เช่น 5-7 วันต่อครั้ง เป็นต้น |
โรคใบปื้นเหลือง ![]() สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Pseudocercospora dendrobii พบมากในกล้วยไม้หวายปอมปาดัวร์ ระบาดมากตั้งแต่ช่วงปลายฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว โดยสปอร์ของเชื้อราจะแพร่กระจายไปกับลมและกระเด็นไปกับละอองน้ำที่ใช้รดต้นกล้วยไม้ ลักษณะอาการ จะเกิดบนใบของกล้วยไม้โดยเฉพาะที่อยู่โคนต้นก่อนโดยใบจะมีจุดกลมสีเหลือง เมื่อเป็นมากๆ จะขยายติดต่อกันเป็นปื้นเหลืองตามแนวยาวของใบ เมื่อพลิกดูใต้ใบจะเห็นเป็นกลุ่มผงสีดำ ในที่สุดใบที่เป็นรุนแรงจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ พร้อมทั้งร่วงหลุดออกจากต้นในที่สุด ทำให้ต้นกล้วยไม้ทิ้งใบหมด การป้องกันและกำจัด ควรเก็บรวบรวมใบที่เป็นโรคออกไปเผาทำลาย และรักษารังกล้วยไม้ให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อเป็นการทำลายเชื้อและลดปริมาณของเชื้อราในรังกล้วยไม้ และฉีดพ่นด้วยยาเดลซีนเอ็มเอ็ก 200, ไดเทนเอ็ม 45, เบนเลททุกๆ 710 วัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค |
เพลี้ยไฟหรือตัวกินสี ![]() เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กมากขนาดยาวของตัวประมาณ 1-2 มิลลิเมตรเท่านั้น ตัวเมียจะวางไข่ในเนื้อเยื่อ ของกลีบดอก� ระยะไข่ 2 - 6 วัน ไข่จะมีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เมื่อฟักเป็นตัวจะมีสีครีมหรือเหลืองอ่อน และน้ำตาลเข้ม เป็นแมลงจำพวกปากดูดเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว� มีปีกบินได้พวกนี้ชอบหลบซ่อนตัวอยู่ตามโคนกลีบดอกหรือตามรอยซ้อนกัน ระหว่างกลีบและปากของกล้วยไม้ ลักษณะการทำลายกล้วยไม้ของเพลี้ยไฟ คือ การดูดน้ำเลี้ยงจากดอกทำให้เกิดเป็นรอยขาวๆ คดเคี้ยวไปมา จะทำลายริมดอกไปก่อนเมื่อจากอาการที่ดอกตูมมีสีน้ำตาลและแห้งคาก้านช่อดอก ชะงักการเจริญเติบโตถ้าเป็นดอกบาน จะปรากฏรอยสีซีดขาวที่ปากกระเป๋าและตำแหน่งที่กลีบดอกซ้อนกัน ต่อมาจะกลายเป็นสีน้ำตาล เรียกกันว่าดอกไหม้ เมื่อแกะอุ้งปากของดอกกล้วยไม้ออกจะเห็นตัวอ่อนหรือตัวแก่ของเพลี้ยไฟแอบซ่อนอยู่คอยดูดกินน้ำเลี้ยงของกล้วยไม้ ใช้เวลาเพียง 1-2 วัน ในการทำลายช่อดอก เพลี้ยไฟจะระบาดในสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง คือในฤดูร้อนนั่นเอง ส่วนฤดูฝนการระบาดจะลดลง การป้องกันกำจัด การทำได้โดยการทำความสะอาดภายในและบริเวณรอบๆเรือนกล้วยไม้อยู่เสมอเพื่อมิให้เป็นที่หลบซ่อนของเพลี้ยไฟ และพ่นยาโมโนโครโตฟอส ในอัตราตัวยา 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วต้นแม้กระทั่งตามซอกใบ ประมาณสัปดาห์ละครั้ง หรือใช้แจคเก็ต (อะบาเม็กติน)ใช้อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วเมื่อพบการระบาด |
เพลี้ยหอย ![]() เพลี้ยหอย เพลี้ยเกล็ด กล้วยไม้ที่ถูกเจ้าของทอดทิ้ง ไม่ค่อยได้รับการฉีดพ่นยา ขาดการเอาใจใส่ดูแลมักจะถูกทำลายด้วยเพลี้ยหอยเพลี้ยเกล็ด ������� ลักษณะการทำลาย เพลี้ยหอยจะดูดกินน้ำเลี้ยงบนใบ ลำต้นและราก จะสังเกตเห็นว่าบริเวณที่ถูกเพลี้ยหอยดูดกินน้ำเลี้ยง จะมีสีเหลืองเป็นจุดนูนเล็กๆ ทำให้ต้นกล้วยไม้ชะงักการเจริญเติบโต พอนานๆ ก็แห้งเหี่ยวตายได้ การป้องกันกำจัด ให้ฉีดพ่นด้วยยาดูดซึม เช่น อโซดริน ไวย์เดทแอล เป็นต้น |