เพลี้ยไฟ (Thrips)เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ตัวอ่อนมีสีเหลือง ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลปนเหลือง เคลื่อนไหวรวดเร็ว เพศเมียจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ บริเวณใบอ่อน ดอก ก้านช่อดอก และผลอ่อน ระยะไข่ 4 - 7 วัน ตัวอ่อนวัยที่หนึ่งมีสีขาวใส ตารวมสีแดง ส่วนตัวอ่อนระยะที่สองสีเหลืองเข้ม เพลี้ยไฟจะระบาดทำลายรุนแรงในฤดูร้อนหรือสภาพอากาศร้อนแห้งแล้ง โดยเฉพาะในระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม แต่อย่างไรก็ตามในสภาพบ้านเรา การขยายพันธุ์หรือการระบาดของเพลี้ยไฟมีได้ตลอดปี แต่อาจจะรุนแรงเป็นระยะ ๆ |
(1) เพลี้ยไฟพริก : Scirtothrips dorsalis
(2) เพลี้ยไฟมันฝรั่ง เพลี้ยไฟหอม : Thrips tabaci Lindeman
(3) เพลี้ยไฟฝ้าย เพลี้ยไฟแตงกวา : Thrips palmi Karny
(4) เพลี้ยไฟดอกกล้วยไม้ : Frankliniella occidentalis Pergande
เพลี้ยไฟกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟเมล่อน | เพลี้ยไฟมะกรูด | เพลี้ยไฟพริกหวาน |
เพลี้ยไฟส้มเขียวหวาน | เพลี้ยไฟโป๊ยเซียน | เพลี้ยไฟผักสลัด | เพลี้ยไฟ |
เพลี้ยไฟฟักทอง | เพลี้ยไฟแก้วมังกร | เพลี้ยไฟเชอรี่ | เพลี้ยไฟเงาะ |
เพลี้ยไฟถั่วฝักยาว | เพลี้ยไฟหม่อน | เพลี้ยไฟแตงโม | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ |
เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟแตงโม | เพลี้ยไฟกุหลาบ |
เพลี้ยไฟดาวเรือง | เพลี้ยไฟส้มโอ | เพลี้ยไฟสตรอเบอรี่ | เพลี้ยไฟเยอบีร่า |
เพลี้ยไฟพริก | เพลี้ยไฟมะม่วง | เพลี้ยไฟข้าว | เพลี้ยไฟหอม |
เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยไฟมะลิ | เพลี้ยไฟแตงกวา |
วิธีการตรวจหาเพลี้ยไฟและการพยากรณ์การระบาดบ่อยครั้งอาจจะพบเพลี้ยไฟมากกว่า 1 ชนิด ทำลายพืชอยู่ด้วยกัน เช่น เพลี้ยไฟที่ทำลายในดอกเบญจมาศมี 2-3 ชนิด หรือบางครั้งบนพืชชนิดเดียวกันแต่ต่างท้องที่ก็อาจจะมีเพลี้ยงไฟต่างชนิดกัน เช่น เพลี้ยไฟในดอกกล้วยไม้ที่พบในเขตท้องที่ จ.นครปฐม จะเป็นคนละชนิดกับที่พบทำลายกล้วยไม้ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นต้น และเช่นเดียวกันเพลี้ยไฟชนิดใดชนิดหนึ่งอาจจะทำลายพืชมากกว่า 1 ชนิดขึ้นไป เช่นเพลี้ยไฟชนิดThrips tabaci Lindeman จะพบทำลายหอม รวมทั้งทำลายทานตะวัน มะเขือ และมะเขือเทศด้วย เพลี้ยไฟจะระบาดทำลายรุนแรงในฤดูร้อนหรือสภาพอากาศร้อนแห้งแล้ง โดยเฉพาะในระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม แต่อย่างไรก็ตามในสภาพบ้านเรา การขยายพันธุ์หรือการระบาดของเพลี้ยไฟมีได้ตลอดปี แต่อาจจะรุนแรงเป็นระยะ ๆ
|
กลไกการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟในพืชเพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทำลายพืชโดยการดูดน้ำเลี้ยง โดยเฉพาะส่วนอ่อนหรือส่วนเจริญ เช่น ตา ใบอ่อน ดอก เป็นต้น ส่วนของพืชที่ถูกเพลี้ยไฟทำลาย สังเกตได้ง่าย ๆ คือ จะมีอาการหงิกงอ เป็นคลื่น มีสีขาวซีด หรือถ้ามีการทำลายรุนแรงส่วนนั้น ๆ จะเป้นรอยด่างสีน้ำตาล เหี่ยวแห้ง ถ้าทำลายดอก เพลี้ยไฟจะเริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ยังเป็นตาดอก ทำให้ตาดอกเหี่ยวแห้ง ไม่ออกดอก การทำลายตั้งแต่เป็นดอกตูมจะทำให้ดอกมีรูปร่างผิดปกติกลีบดอกหงิกงอบิดเบี้ยวและเล็กลงมากจนถึงเป็นรอยด่างสีน้ำตาล อาการที่ใบอ่อน ถ้าเริ่มเข้าทำลายตั้งแต่เริ่มแตกใบอ่อน จะทำให้เป็นแผล ถ้าระบาดทำลายรุนแรงใบจะไหม้ หงิกงอ ขอบใบม้วน แห้งทั้งใบ และร่วงในที่สุด การทำลายที่ผลอ่อน ทำให้เกิดแผลที่ผิวเปลือก มีสีน้ำตาล กร้าน มียางไหลออกมา ทำให้ผลไม่เจริญเติบโต ผิวเปลือกที่ถูกทำลายจะมีลักษณะขรุขระ เป็นขี้กลาก ไม่สวยงาม |
ตัวอย่างการป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟในพืชชนิดต่างๆ
|