LINE it!
 @allkaset





  • เมล่อน

    แคนตาลูป/เมล่อน เป็นพืชในตระกูลแตงที่นิยมปลูกเพื่อการค้าชนิดหนึ่งที่มีราคาต่อผลสูง เนื่องจากเป็นแตงที่มีรสหอมหวาน มีคุณค่าทางโภชนาการ ประกอบด้วยวิตามินเอ และวิตามินซีสูงจึงเป็นแตงที่ที่นิยมบริโภคกันมากไม่แพ้แตงโมเลยทีเดียว
     
    ประวัติแคนตาลูป/เมล่อน
    ถิ่นกำเนิดของแคนตาลูป/เมล่อน มีการกล่าวถึงหลายพื้นที่ เช่น ทวีปแอฟริกา ประเทศอินเดีย แถบกึ่งอบอุ่น และเขตร้อนทางทิศตะวันตกของทวีปแอฟริกา เริ่มพบหลักฐานบันทึกการปลูกแคนตาลูป/เมล่อน ในประเทศอียิปต์ เมื่อ 2400 ปี ก่อนคริสตกาล และมีการบันทึกการนำเข้ามาปลูกในกรุงโรม เมื่อศตวรรษที่ 1 ค.ศ. 1494 และปี ค.ศ. 1582 พบการปลูกแคนตาลูป/เมล่อน ในมลรัฐมิสซิสซิปปี้ อลาบามา และเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1609 ที่ มาของชื่อ แคนตาลูป (cantaloupe) ถูกตั้งขึ้นจากเกษตรกรที่ปลูกแคนตาลูปในเมืองแคนตาลูโป้ (Cantalupo) ประเทศอิตาลี ทำให้กลายเป็นชื่อเรียกอย่างเป็นทางการเป็นต้นมา การปลูกแคนตาลูป/เมล่อน ในประเทศไทยเริ่มมีการนำเข้าพันธุ์จากต่างประเทศมาปลูกครั้งแรกที่สถานี กสิกรรมแม่โจ้ (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) เมื่อปี 2478 แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ต่อมาเมื่อปี 2493 ได้นำพันธุ์มาทดลองปลูกที่เกษตรกลางบางเขน แต่การปลูกก็ไม่สำเร็จเช่นกัน และเริ่มทดลองปลูกอีกครั้งในปี 2497 ที่เกษตรกลางบางเขนจนประสบผลสำเร็จ ต่อมีการปลูกที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งได้ผลดี และเริ่มขยายการปลูกอย่างต่อเนื่องตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

    ราก
    ราก เป็นระบบรากแก้ว มีรากแขนง และรากฝอยแตกออกห่างๆ ระบบความลึกของรากประมาณ 30 เซนติเมตร

    ลำต้น
    แคนตาลูป/เมล่อน เป็นพืชเถาเลื้อยตาดินหรือตามกิ่งไม้ ลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อน มีลักษณะกลม ความยาวประมาณ 2-3 เมตร ลำต้นมีหนามคล้ายขน ช่วงข้อมีความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร บริเวณข้อแตกกิ่งย่อยออก และบริเวณข้อย่อยจะแตกใบ และดอก ส่วนซอกใบจะแตกหนวดสำหรับยึดเกาะขณะเจริญเติบโต

    ใบ
    ใบแคนตาลูป/เมล่อน มีลักษณะคล้ายใบแตงหรือฟักทอง แตกออกบริเวณข้อกิ่ง ข้อละ 1 ใบ เรียงสลับกัน ก้านใบกลวง ยาว 5-10 เซนติเมตร มีขน บริเวณฐานใบเว้า ขอบใบหยักเป็นคลื่น ผิวใบขรุขระ ใบอ่อนมีขนที่ริมขอบใบ และใต้ใบ เมื่อใบมีอายุมากขนที่ใต้ใบจะน้อยลง

    ดอก
    ดอกแคนตาลูป/เมล่อน มีทั้งดอกแบบเพศผู้ ดอกเพศเมีย และดอกสมบูรณ์เพศบนต้นเดียวกัน แต่ส่วนใหญ่มักพบแบบมีดอกเพศผู้ และดอกสมบูรณ์เพศ ซึ่งดอกเพศผู้แทงออกที่ซอกใบบริเวณแขนงย่อยเกือบทุกแขนง ดอกจะมีสีเหลืองคล้ายดอกแตงกวา โดยดอกเพศผู้มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ อับละอองเกสร 3 อับ และก้านชูเกสรสั้น ส่วนดอกเพศเมีย และดอกสมบูรณ์เพศจะแทงออกที่แขนงย่อยข้อแรก ดอกสมบูรณ์เพศมีกลีบเลี้ยงสีเขียว ส่วนกลีบดอกมีสีเหลือง 5 กลีบ อับละอองเกสรตัวผู้ 3 อับ ล้อมรอบเกสรตัวเมียที่มี 3-5 แฉก ส่วนรังไข่มีลักษณะกลม ยาว 2-4 เซนติเมตร มี 3-5 ห้อง และฐานดอกสมบูรณ์เพศมีรังไข่ที่เจริญเป็นผล

    ผล
    ผลแคนตาลูป/เมล่อน พัฒนามาจากรังไข่จากดอกที่เกิดอยู่บนแขนงย่อย ผลมีลักษณะแตกต่างกันตามสายพันธุ์ บางพันธุ์มีร่างแหปกคลุม บางพันธุ์ผิวเรียบไม่มีร่างแห บางพันธุ์มีร่องเป็นทางยาวจากขั้วผลถึงท้ายผล ลักษณะผลทุกสายพันธุ์ค่อนข้างกลมรี ผลมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-15 เซนติเมตร หนักประมาณ 0.5-2 กิโลกรัม มีสีผิวเปลือก และสีเนื้อแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เนื้ออาจมีสีเหลือง สีเหลืองอมเขียว และสีส้ม ส่วนเมล็ดมีสีน้ำตาลเหลือง


    ชนิดและพันธุ์เมล่อน

    เมล่อนเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศในแถบทวีปแอฟริกา นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้ว เป็นพืชที่อยู่ในพืชวงศ์แตง และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cucumis melo L. ซึ่งมีอยู่หลายวาไรตี้ (variety) หรือ ชนิด (group) แต่ที่ปลูกเป็นพืชเพื่อกำรบริโภคมีอยู่ 3 วาไรตี้ ได้แก่
    1. วาไรตี้ แคนตาลูปเพนซิส (Cantaloupensis) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า C. melo L. var.cantaloupensis มีชื่อเรียกทั่วไปว่าร็อคเมลอน (Rock melon) เพราะผลมีผิวแข็ง ขรุขระ แต่ไม่ถึงกับเป็นร่างแห
    2. วาไรตี้ เรติคูลาตัส (Reticulatus) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า C. melo L. var. reticulatus มีชื่อเรียกทั่วไปว่า เน็ดท์เมลอน (netted melon) มัสค์เมลอน (muskmelon) หรือ เปอร์เซียนเมลอน(persian melon) เป็นชนิดที่ผิวนอกของผลลักษณะขรุขระเป็นร่างแหคลุมทั้งผล และผลมีกลิ่นหอมเนื้อผลเป็นสีเขียว หรือสีส้ม
    3. วาไรตี้ อินอะดอรอส (Inodorous) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า C. melo L. var. inodorous ผิวของผลเรียบ และมักไม่มีกลิ่นหอม สำหรับพันธุ์ที่มีปลูกในประเทศไทยโดยการปรับปรุงพันธุ์ของบริษัทเมล็ดพันธุ์ภายในประเทศและวางจำหน่ายในท้องตลาด เป็นที่รู้จักกันดีและเป็นพันธุ์ที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยได้

    สายพันธุ์เมล่อน
    แบ่งตามผิวเปลือก
    1. Reticulata ชื่อวิทยาศาสตร์ Cucumis melo L. var. reticulata เรียกทั่วไปว่า เน็ตท์เมล่อน (netted melon) มัสต์เมล่อน (musk melon)หรือเปอร์เซียนเมล่อน (persian melon) เปลือกมีผิวขรุขระ แข็ง เป็นร่างแห เนื้อมีสีเขียวปนเหลือง หรือ สีส้ม

     

    2. Cantaloupensis ชื่อวิทยาศาสตร์ Cucumis melo L. var. cantaloupensis เรียกทั่วไปว่า ร็อคเมล่อน(rock melon) เปลือกมีผิวขรุขระ แข็ง ไม่เป็นร่างแห แต่มีร่องลึกเป็นทางยาวจากขั้วผลจรดท้ายผล
    3. Inodorous ชื่อวิทยาศาสตร์ Cucumis melo L. var. inodorous L เปลือกมีผิวเรียบ ไม่เป็นร่างแห พันธุ์ที่นิยมได้แก่ พันธุ์ฮันนี่ดิว (honeydew)

    4. Flexuosus ชื่อวิทยาศาสตร์ Cucumis melo L. var. Flexuosus เรียกทั่วไปว่า สเน็คเมล่อน(snake melon) ผลมีขนาดเล็ก เปลือกเรียบสีขาว ขนาดผลเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 นิ้ว ผลอาจตรงหรือโค้ง นิยมนำมาทำเป็นผลไม้ดอง
    5. Conomon ชื่อวิทยาศาสตร์ Cucumis melo L. var. Conomon เรียกทั่วไปว่า ปิกลิงเมล่อน (pickling melon) ผลมีขนาดเล็ก เรียวยาว เปลือกผิวเรียบ มีหลายสี เนื้อมีสีขาวหรือสีน้ำตาลปนขาว
    6. Chito ชื่อวิทยาศาสตร์ Cucumis melo L. var. Chito เรียกทั่วไปว่า แมงโกเมล่อน (mengo melon) ผลมีขนาดเล็ก เปลือกผิวเรียบ มีหลายสี เนื้อมีรสเปรี้ยว นิยมนำทำเป็นผลไม้ดอง
    7. Dudaim ชื่อวิทยาศาสตร์ Cucumis melo L. var. Dudaim เรียกทั่วไปว่า โปมกราเน็ต เมล่อน (pomegranate melon) ผลมีขนาดเล็กเท่าผลส้ม รูปร่างกลมหรือรูปไข่ เปลือกผิวเรียบ มีกลิ่นคล้ายโคลน

    แบ่งตามสีเนื้อ
    1. เนื้อมีสีเขียวหรือเขียวขาว เป็นเมล่อน ที่มีทั้งเปลือกผิวเรียบ และแบบขรุขระเป็นร่างแห ผลสุกมีสีเปลือกเป็นสีเขียวครีม สีเหลือง หรือสีเหลืองทอง ส่วนเนื้อผลมีสีเขียวหรือเขียวขาว กรอบนุ่ม มีรสหวาน และกลิ่นหอม ได้แก่ พันธุ์เจตดิว (Jade Dew) วีนัสไฮบริด (Venus hybride) ฮันนี่ดิว (Honey dew) และฮันนี่เวิลด์ (Honey world)

    2. เนื้อมีสีส้ม เป็นเมล่อน ที่มีทั้งเปลือกผิวเรียบ และแบบขรุขระเป็นร่างแห ผลสุกจะมีสีเปลือกเป็นสีครีม หรือสีเหลือง ส่วนเนื้อมีสีส้ม กรอบนุ่ม มีรสหวาน และกลิ่นหอม ได้แก่ พันธุ์ซันเลดี้ (Sun lady) ท๊อปมาร์ค (Top mark) และนิวเซนจูรี่ (New cenjury)


    การปลูกเมล่อน

    สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูก
    เมล่อนเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบ ร้อนของทวีปแอฟริกา จึงไม่ชอบอากาศหนาวเย็นจัด แต่ชอบอากาศอบอุ่น แต่ไม่ร้อนจัด อุณหภูมิที่เหมาะสำหรับการปลูกแตงอยู่ที่ 25-30 องศาเซลเซียสในเวลา กลางวัน และ 18-20 องศาเซลเซียส ในเวลากลางคืน ดังนั้นฤดูกาลที่เหมาะสมสำหรับการปลูกเมล่อนในประเทศไทยจึงเป็นปลายฤดูฝนหรือฤดูฝนหนาว ในเขตที่อากาศไม่หนาวจัด เช่นภาคกลาง ภาคตะวันตกและภาคตะวันออก รวมทั้งภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉลียงเหนือที่อากาศไม่หนาวจัดจนเกินไป
    หากเมล่อนกระทบกับอากาศหนาวเย็นจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโตได้ตั้งแต่ระยะต้นกล้า การออกดอกติดผลจะล่าช้า และถ้าอากาศยิ่งหนาวจัด ต่ำกว่า 15 องศา เซลเซียส ต้นเมล่อนจะหยุดการเจริญเติบโต ในทำนองกลับกันต้นเมล่อนก็ไม่ชอบอากาศที่ร้อนจัดเกินไป ถ้าอุณหภูมิเกินกว่า 30 องศาเซลเซียส เมล่อนมักจะสร้างแต่ดอกตัวผู้ ไม่มีดอกตัวเมีย หรือถ้ามีดอกตัวเมียแต่จะร่วงง่ายไม่ติดผล

    ดังนั้นในการปลูกเมล่อนในสภาพแวดล้อมที่ไม่ค่อยเหมาะสมนั้น จะต้องมีการดูแลรักษา ให้น้ำ ปุ๋ย และการป้องกันกำจัดโรคแมลงอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ จึงจะได้ผลดี ดินที่เหมาะสำหรับการปลูกเมล่อน ควรเป็นดินร่วนปนทราย ที่มีการระบายน้ำ ได้ดี ควรหลีกเลี่ยงการปลูกเมล่อนในพื้นที่ที่เป็นดินเหนียวจัด ที่มีการระบายที่ไม่ดี ทำให้มีโอกาสเกิดโรคเน่าในระบบรากได้ง่าย และยังเป็นที่สะสมของโรคทางดิน ติดต่อไปยังฤดูต่อไป รวมทั้งยากต่อการลดความชื้นในดินก่อนเก็บเกี่ยว อย่างไรก็ตามถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในการปลูกเมล่อนในดินชนิดนี้ควรยกแปลงให้สูง 30- 40 ซม. มีร่องน้ำกว้างเพื่อการระบายน้ำที่ดี และไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิมในฤดูติดกัน ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดินควรอยู่ที่ 6.0-6.5 ถ้ามีค่าต่ำกว่านี้แสดงว่าดินมีสภาพเป็นกรด ต้องทำการปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของดินให้สูงขึ้นด้วยปูนขาว มิฉะนั้นจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเน่าของระบบรากในดิน ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ไม่แนะนำให้ปลูกเมล่อนซ้ำในพื้นที่เดิมในฤดูติดกัน ควรปลูกพืชในวงศ์อื่นคั่น 1-2 ฤดู ก่อนที่จะกลับมาปลูกในที่เดิมอีกครั้ง ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยง การระบาดของโรคทางดินที่อาจสะสมอยู่จากการปลูกในฤดูที่ผ่านมา

    การเตรียมวัสดุเพาะกล้า
    ปัจจุบันวัสดุเพาะกล้าที่ให้ผลดีที่สุดได้แก่ พีทมอส ซึ่งเป็น วัสดุที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ จึงมีราคาแพงกว่าวัสดุเพาะกล้าภายในประเทศทั่ว ไป มีลักษณะเบา อุ้มน้ำได้ดี แต่มีช่องว่างให้มีอากาศที่จำเป็นสำหรับการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของต้นกล้าหลังงอก ในพีทมอสนี้ยังมีธาตุอาหารในรูปของอินทรีย์วัตถุที่ย่อยสลายตัวแล้วให้กับต้นกล้าได้ใช้ในการเจริญเติบโตในระยะหนึ่ง นอกจากนี้พีทมอสยังมีคุณสมบัติที่ดีและมีประโยชน์มากสำหรับการเพาะกล้า อีกประการหนึ่งคือ ปลอดจากเชื้อโรคทางดินต่างๆ จึงเป็นวัสดุปลูกที่ให้ผลดีที่สุดในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามถ้าต้องการประหยัด อาจใช้วัสดุปลูกภายในประเทศที่มีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับพีทมอส เช่น ขุยมะพร้าวที่ร่อนเอาเส้นใยออกไปแล้ว ผสมกับปุ๋ยคอกและทรายหยาบที่ร่อนเอาเม็ดกรวดออกไปแล้ว ในอัตรา 1 : 1 : 1 โดยปริมาตร หรือในสถานที่ที่หาดินร่วนได้ง่าย อาจเพิ่มดินร่วนที่ผ่านการตากแดดฆ่าเชื้อ และนำมาย่อยจนละเอียดดีแล้วอีก 1 ส่วน เพื่อช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้กับต้นกล้าอีกทางหนึ่ง เมื่อคลุกเคล้าวัสดุปลูกที่ต้องการใช้ให้เข้ากันดีแล้ว ทำการกรอกวัสดุปลูกลงในกระบะเพาะกล้า หรือถุงพลาสติกเพาะกล้า ทำการหยอดเมล็ดลงในกระบะหรือถุงเพาะหลุมละ 1 ต้น ให้ลึกประมาณ 2 ซม. กลบเมล็ดด้วยวัสดุเพาะชนิดเดียวกัน รดน้ำให้ชุ่ม ก่อนนำไปวางไว้ในที่ร่มรำไร ไม่ให้โดนแสงแดดจัดโดยตรง ในระหว่างการอนุบาลต้นกล้าเมล่อน จะต้องรักษาความชื้นในวัสดุปลูกให้สม่ำเสมอคงที่ ถ้าวางไว้นอกโรงเรือน ในที่กลางแจ้งควรใช้ฟางข้าวคลุมเหนือผิววัสดุปลูกเพื่อช่วยเก็บความชื้น ไม่ให้ระเหยออกไปจากวัสดุปลูกอย่างรวดเร็วจนทำให้วัสดุปลูกนั้นแห้งเร็ว เกินไป รอจนกระทั่งเมล็ดเริ่มงอกและมีใบจริงสีเขียวจึงค่อยๆ ทะยอยเปิดฟางข้าวออกให้ต้นกล้าได้รับแสงแดดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทีละน้อย ตามอายุการเจริญเติบโต มิฉะนั้นต้นกล้าจะมีปล้องที่ยึดยาวหาแสงทำให้ลำต้นผอมบาง ไม่แข็งแรง และอย่าลืมว่าควรเพิ่มปริมาณน้ำที่ให้แก่ต้นกล้าให้มากขึ้นเมื่อต้นกล้าโตขึ้นตามลำดับ


    ขนาดของกระบะเพาะกล้าในปัจจุบันมีหลายขนาด สามารถเพาะกล้าให้เมล็ดงอกได้ดีพอกัน แต่การเลือกกระบะที่มีขนาดใหญ่กว่าจะได้เปรียบตรงที่มีปริมาณวัสดุเพาะต่อต้นกล้าและได้ระยะห่างระหว่างต้นกล้าด้วยกันมากกว่าของกระบะที่มีขนาดเล็กกว่า ทำให้ได้ต้นกล้าภายหลังการงอกที่ได้จากกระบะเพาะที่มีขนาดเล็กกว่า ขนาดของ ต้นกล้าที่แข็งแรงพอที่จะย้ายปลูกได้ คือที่ใบจริงประมาณ 2-3 ใบ

    การเตรียมแปลงปลูกและย้ายกล้า
    เมล่อนเป็นพืชที่มีราคาแพง โดยเฉพาะพันธุ์ที่มีรสชาติดี เป็นที่ต้องการของตลาด จึงคุ้มค่ากับการปลูกทั้งในแปลงเปิดที่ลงทุนต่ำ และในโรงเรือนที่ลงทุนสูง

    การปลูกภายนอกโรงเรือน ก่อนอื่นควรมีการเก็บตัวอย่างดินจากแปลงที่จะปลูกไป ตรวจเพื่อให้ทราบคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี (โครงสร้างดิน ความเป็น กรด-ด่าง ความเค็ม และปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน)
    การเตรียมพื้นที่ควรเริ่มต้น ด้วยการไถดะในระดับความลึกไม่น้อยกว่า 60 ซม. ซึ่งเป็นความลึกที่อย่างน้อย ต้องมีให้รากเมล่อนชอนไชหาอาหารได้สะดวก จากนั้นจึงทำการไถแป เพื่อย่อยดินให้ละเอียด แต่ถ้าในกรณีที่เนื้อดินเป็นดินเหนียวจัดไม่ควรย่อยดินให้ละเอียดมากเกินไป แล้วจึงใส่ปูนขาวตามคำแนะนำของผลการวิเคราะห์ดิน(ถ้ามี)
    ต่อมาให้ทำการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมัก ในอัตรา 1,500-2,000 กก.ต่อไร่ ทำการพรวนดินอีกครั้งเพื่อคลุกเคล้าให้ปุ๋ยคอกผสมกับดินให้ทั่ว ยกแปลงสูง 30 ซม. หรือ 40 ซม. สำหรับฤดูฝน กว้างประมาณ 1-1.20 ม. มีความยาวตราความยาวของพื้นที่สำหรับการปลูกแบบแถวคู่ เว้นร่องน้ำกว้าง 0.80 ม. ก่อนปลูกใส่ปุ๋ยรองพื้นด้วยปุ๋ยเคมี 15-15-15 จำนวน 50 กก./ไร่ โดยโรยเฉพาะบนแปลง และพรวนดินเพื่อพลิกปุ๋ยลงสู่ดินล่าง หากต้องการป้องกันวัชพืช ควรคลุมแปลงด้วยพลาสติก คลุมแปลงกลบชายพลาสติกด้วยดินข้างแปลงให้เรียบร้อย เจาะรูบนพลาสติกเป็น 2 แถว ตามความยาวแปลง ระหว่างแถวห่างกัน 80 ซม. และระหว่างหลุมในแถวห่าง กัน 0.5 ซม. ในพื้นที่ 1 ไร่ หรือ 1,600 ตร.ม. จะสามารถปลูกได้ 3,200 ต้น สำหรับในพื้นที่ที่หาฟางข้าวได้ง่ายอาจใช้ฟางข้าวคลุมแปลงแทนการใช้พลาสติก เพื่อการประหยัด ยกเว้นในฤดูฝนควรหลีกเลี่ยงการใช้ฟางคลุมดิน เพราะเสี่ยงต่อ การเกิดโรคเน่าที่โคนต้นและระบบรากจากเชื้อราที่ติดมากับฟาง

    การปลูกในโรงเรือน ในการปลูกเมล่อนในโรงเรือนช่วยให้สามารถปลูกเมล่อนได้ในฤดูฝน โดยที่ไม่ต้องกลัวการระบาดของโรคทางใบ แต่ก็ต้องใช้การลงทุนที่สูงกว่า จึงควรใช้เป็นวิธีการปลูกเมล่อนที่มีราคาแพง เพื่อผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุน วิธีการปลูกในโรงเรือนนั้นสามารถปลูกลงในดินหรือปลูกในวัสดุปลูกที่อยู่ใน ภาชนะหรือกระถาง แต่การปลูกลงในกระถางจะมีข้อดีกว่าตรงที่ สามารถใช้ระยะปลูกที่ชิดกว่าการปลูกลงดิน และวิธีนี้ยังช่วยให้สามารถปลูกเมล่อนต่อเนื่องในฤดูติดกัน เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องของการระบาดของโรคทางดิน เนื่องจากปลูกในกระถางที่ใช้วัสดุปลูกที่มีความสะอาดหรือผ่านการฆ่าเชื้อให้ปลอดภัยมาแล้ว ในกรณีที่ปลูกในกระถางขนาด 12 นิ้ว ให้วางกระถางแบบแถวคู่ ภายในแถวคู่ที่ระยะห่างระหว่างกระถางในแถว 50 ซม. ระยะห่างภายในแถวคู่ 80 ซม. และระยะระหว่างแถวคู่เท่ากับ 1.5 ม. ในโรงเรือนที่มีพื้นที่ 360 ตร.ม. จะปลูกได้ 1,000 ต้น วัสดุปลูกที่ใช้สามารถใช้ได้หลายชนิด ถ้าใช้วัสดุจากต่างประเทศ ได้แก่ พีทมอส หรือ ภูมิส สามารถใช้วัสดุชนิดใดชนิดหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว หรือถ้าใช้วัสดุภายในประเทศ เช่น ขุยมะพร้าว ถ่านแกลบ ทราย ให้นำผสมกันเสียก่อน ในอัตรา เช่น ขุยมะพร้าว : ถ่านแกลบ : ทราย : ในอัตรา 1 : 1 : 1 เป็นต้น ไม่ควรใช้ขุยมะพร้าว แกลบดิบ ทราย หรือถ่านแกลบ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว เพราะวัสดุภายในประเทศเหล่านี้โดยตัวเองเพียงอย่างเดียว ยังไม่เหมาะสำหรับการปลูกพืช เมื่อเตรียมแปลงและหลุมปลูก หรือ กระถางบรรจุวัสดุปลูกเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการย้ายต้นกล้าแตงเทศที่เตรียมไว้ลงปลูก หลังปลูก รดน้ำให้ชุ่มเพื่อให้ความชื้นแก่ต้นกล้าและให้ดินกระชับรากต้นกล้า

    ในกรณีของการปลูกในโรงเรือนต้องวางระบบน้ำหยดและติดตั้งหัวน้ำหยดที่แต่ละกระถางปลูก การปฏิบัติดูแลรักษา เมล่อนเป็นพืชที่ต้องการการปฏิบัติเป็นพิเศษแตกต่างจากพืชอื่นๆ ในหลายขั้นตอน นับตั้งแต่การให้น้ำและใส่ปุ๋ย การขึ้นค้าง การตัดแต่งกิ่ง การผสมเกสรและการไว้ผล และการดูแลรักษาระหว่างการพัฒนาของผล ที่ถูกต้อง เหมาะสมจึงจะให้ผลผลิตที่ดี ในต้นเมล่อนหนึ่งต้นจะปล่อยให้ติดลูกเพียงหนึ่งผล เพื่อต้องการผลผลิตที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ผล ดังนั้น หากมีการดูแลรักษาที่ไม่ถูกวิธี อาจทำให้ไม่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตจากต้นเมล่อนนั้นเลยทำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง

    การขึ้นค้าง
    เมล่อนเป็นพืชที่มีลำต้นเป็นเถาเลื้อย ในการใช้ระยะปลูกชิดแบบ ปัจจุบันจึงต้องบังคับให้เถาเมล่อนเลื้อยขึ้นด้านบนโดยการจัดค้างให้เถาเมล่อนได้เกาะ โดยหลังจากปลูกได้ประมาณ 14 วัน ต้องมีการปักค้างให้กับต้นเมล่อน ไม้ค้างควรมีความสูงจากผิวดินหลังการปักลงดินแล้วไม่น้อยกว่า 1.80 ซม. ในกรณีปลูก 2 แถว อาจผูกไม้ค้าง 2 ฝั่ง เข้าหาเป็นกระโจมเพื่อเพิ่มความแข้งแรงให้มากขึ้นก็ได้ และระหว่างไม้ค้างที่ปักในแนวตั้งให้ยึดด้วยไม้ค้างตามแนวนอนทั้งบนและล่างอีกตลอดความยาวของแปลง ไม้ค้างที่ใช้อาจเป็นไม้ไผ่รวก ไม้กระถิน หรือ อื่นๆ ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นและมีราคาถูก ต้นเมล่อนทุกต้นต้องมีที่ยึดเกาะให้ลำต้นเลื้อย หากไม่สามารถลงทุนซี้อไม้ค้างให้กับต้นเมล่อนทุกต้นได้ สามารถลดต้นทุนโดยการปักไม้ค้างเป็นช่วงห่างกัน 2-2.5 ม. และหาเชือกไนลอนหรือเชือกอื่นที่มีความแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักต้นเมล่อนได้ผูกโยงที่บริเวณปลายของไม้ค้างแต่ละอันให้ตึง และบนเส้นเชือกตำแหน่งที่ตรงกับต้นเมล่อนให้ผูกเชือกห้อยลงมายาวจรดดิน

    ในการเริ่มต้นให้ต้นแตงเกาะกับหลักหรือเชือกจะต้องช่วยบังคับโดยการผูกต้นเมล่อนกับหลักหรือเชือกทุกๆข้อเว้นข้อก่อนในระยะแรก ถ้าเป็นเชือกให้เวียนเชือกรอบต้นเมล่อนด้วย เพื่อเชือกสัมผัสและรับน้ำหนักและพยุงต้นเมล่อนไว้ได้

    การเลี้ยงลำต้นและกิ่งแขนง
    หลังจากปลูกเมล่อนได้ระยะหนึ่ง ต้นเมล่อนจะเริ่มมีการแตกกิ่งแขนงออกมา ให้ปลิดกิ่งแขนงที่เกิดขึ้นต่ำกว่าข้อที่ 8 และสูงกว่าข้อที่ 12 ออกเสีย โดยปลิดแขนงออกตั้งแต่ยังมีขนาดเล็กและปล่อยกิ่งแขนงที่เกิดขึ้นระหว่าง ข้อที่ 8-12 ไว้ให้เป็นที่เกิดของดอกตัวเมียที่จะติดเป็นผลต่อไป

    ทำการแต่งกิ่งแขนงโดยตัดปลายยอดทิ้งให้เหลือใบเพียง 2 ใบ เท่านั้น คือใบที่ใกล้กับข้อแรกที่จะเกิดดอกตัวเมียหรือดอกสมบูรณ์เพศ และใบที่ข้อถัดขึ้นไป ปล่อยให้มีดอกตัวเมียหรือดอกสมบูรณ์เกิดขึ้นเพียงแขนงละ 1 ดอก เท่านั้น และเมื่อต้นเมล่อนเจริญเติบโตจนถึง 25 ข้อ ให้ตัดปลายยอดของต้นออกเสีย เพื่อหยุดการเจริญเติบโตทางด้านลำต้น นอกจากนี้ให้เด็ดใบล่างสุดออกอีก 3-5 ใบ ที่ไม่ค่อยได้รับแสงแดดออกไ เพื่อทำให้ต้นโปร่งเพิ่มการถ่ายเทของอากาศ ไม่ให้เกิด การสะสมของความชื้นที่ชักนำให้เกิดโรคราต่างๆ

    การผสมเกสรและการไว้ผล
    เมล่อนเป็นพืชที่มีดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่กันคนละดอกแต่เกิดอยู่บนต้นเดียวกัน หรือบางพันธุ์มีดอกเพศผู้และดอกสมบูรณ์เพศอยู่บนต้นเดียวกันก็มี โดยดอกเพศผู้จะเกิดก่อนและเกิดเป็นช่อที่มุมระหว่างก้านใบกับลำต้น หรือลำต้นกับกิ่งแขนง

    โดยปกติเมล่อนเป็นพืชผสมข้าม จำเป็นที่ต้องมีการผสมเกสรจากภายนอกโดยแมลงหรือมนุษย์จึงจะติดเป็นผลได้ ดังนั้นในการปลูกเมล่อนจึงจำเป็นต้องมีการช่วยผสมเกสรให้กับดอกตัวเมียหรือดอกสมบูรณ์เพศ การผสมเกสรต้องกระทำเมื่อดอกบานในตอนเช้า ตั้งแต่เวลา 6:00-10:00 ในขณะที่อากาศยังมีอุณหภูมิไม่ขึ้นสูง หลังจากนั้นดอกตัวเมียจะหุบไม่รับการผสมอีกต่อไป วิธีการผสมเกสรทำโดยการเด็ดดอกตัวผู้ที่บานในวันนั้นจากต้นใดก็ได้ นำมาปลิดกลีบดอกออกให้หมดเหลือแต่อับละอองเกสรตัวผู้ ที่สังเกตเห็นว่ามีละอองเกสรตัวผู้เกาะติดอยู่เต็มไปหมด แลัวนำมาคว่ำและเคาะลงที่ยอดของดอกตัวเมียหรือดอกสมบูรณ์เพศที่บานในวันนั้นให้ทั่ว โดยรอบดอก ทะยอยผสมเกสรให้กับดอกตัวเมียหรือดอกสมบูรณ์เพศที่เกิดอยู่บนกิ่งแขนงที่เกิดบนข้อที่ 8 -12 ซึ่งจะบานไม่พร้อมกัน จึงต้องใช้เวลาหลายวันจึงจะผสมครบทั้ง 5 ดอก เมื่อเริ่มติดเป็นผลอ่อนขนาดเท่าไข่ไก่ จึงทำการเลือกผลที่สมบูรณ์ที่สุดไว้เพียงผลเดียว โดยดูจากผลที่รูปร่างสมบูรณ์ ไม่บิดเบี้ยว และมีขั้วผลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ที่เหลือให้ปลิดทิ้ง หลังติดผล 2 สัปดาห์ให้เริ่มใช้เชือกผูกที่ขั้วผลโยงไว้กับค้างเพื่อช่วยพยุงและรับน้ำหนักผลที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วต่อไปจากนั้นให้รีบห่อผลด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ให้มิดชิดเพื่อป้องกันการเข้าทำลายของแมลงวันทอง

    การให้น้ำ
    ต้นเมล่อนเป็นพืชที่มีใบใหญ่คายน้ำมากจึงต้องการน้ำมากในแต่ละวัน นับจากหลังจากย้ายปลูกแล้ว ความต้องการน้ำของต้นเมล่อนจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเมล่อนเริ่มออกดอกและติดผล จะเป็นช่วงที่เมล่อนมีปริมาณความต้องการน้ำสูงที่สุด การให้น้ำแก่เมล่อนจึงต้องเพิ่มปริมาณการให้น้ำแก่ต้นเพิ่มมากขึ้นทุกสัปดาห์ จนถึงระยะออกดอกและติดผลจึงให้น้ำในปริมาณที่คงที่ได้ ปริมาณน้ำที่ต้องให้แก่ต้นเมล่อนนั้นขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ถ้าปลูกเมล่อนในช่วงที่อากาศร้อนจัด ในฤดูร้อนจัดและอากาศแห้งแล้ง ความต้องการน้ำของต้นเมล่อนในช่วงเริ่มต้นหลังย้ายกล้าอาจอยู่ในช่วง 0.5-1 ลิตร/ต้น/วัน และในช่วงที่กำลังออกดอกและติดผลอาจสูงถึงวันละ 2-3 ลิตร/ต้น/วัน อย่างไรก็ตาม ความต้องการน้ำของเมล่อนสามารถเปลี่ยนแปลงไปใบฤดูกาลเดียวกัน ยังแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ สำหรับวิธีการให้น้ำแก่เมล่อน สามารถทำได้หลายวิธี เช่นการปล่อยน้ำเข้าข้างร่องปลูกและปล่อยให้น้ำซึมเข้าสู่แปลงจากด้านข้าง ซึ่งเป็นวิธีดั้งเดิมที่สิ้นเปลืองน้ำและแรงงาน

    ปัจจุบันนิยมใช้ระบบการให้น้ำแบบหยดซึ่งเป็นการให้น้ำแก่ต้นแตงที่ในบริเวณรากของต้นเมล่อนแต่ละต้นโดยตรง ซึ่งเป็นวิธีที่ประหยัดน้ำกว่า และยังสามารถผสมปุ๋ยและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิดลงไปในระบบน้ำหยดได้ด้วย แต่ต้องใช้การลงทุนสูงในครั้งแรกแต่สามารถเก็บไว้ใช้ในฤดูกาลปลูกต่อๆไป

    การให้ปุ๋ย
    การใส่ปุ๋ยให้แก่เมล่อนที่ถูกวิธีและประหยัดนั้น ก่อนการให้ปุ๋ยแก่ต้นเมล่อนควรมีการตรวจวิเคราะห์ดิน เพื่อหาความอุดมสมบูรณ์ของดินเสียก่อนว่ามีอินทรีย์วัตถุ ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุโปแตสเซียม ธาตุแคลเซียม และแมกนีเซียม ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช อยู่ในปริมาณเท่าใดก่อน จึงค่อยกำหนดปริมาณปุ๋ยที่จะใส่ให้แก่ดินที่ปลูกนั้นอีกครั้ง เนื่องจากความอุมสมบูรณ์ของดินในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน คำแนะนำในการให้ปุ๋ยแก่ต้นเมล่อนต่อไปนี้ จึงเป็นคำแนะนำทั่วไปสำหรับแปลงปลูกพืชที่ไม่มี ผลการตรวจวิเคราะห์ดิน การให้ปุ๋ยเคมีทางดิน ในระหว่างการเตรียมดินก่อนปลูก ได้มีการใส่ปุ๋ยรองพื้นให้แก่ ต้นเมล่อนครั้งหนึ่งแล้ว แต่หลังการย้ายปลูกต้องมีการใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มเติมอีกเป็นระยะๆ ในช่วงก่อนออกดอก ช่วงกำลังออกดอกและติดผลอ่อน และช่วงก่อนผลแก่ดังนี้ หลังย้ายปลูก 7 วัน ให้ใส่ปุ๋ย 15-15-15 ที่โคนต้นเมล่อนในปริมาณ 15 กรัม/ต้น หรือ 50 กก./ไร่ เมื่ออายุประมาณ 25 วัน และ 50 วัน หลังย้ายปลูก โรย ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ และเมื่ออายุ 65 วัน หลังย้ายปลูกใช้ปุ๋ย 15- 15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ย 0-0-60 อัตรา 25 กก./ไร่ หว่านลงที่ร่อง ระหว่างแปลงปลูก ก่อนการให้น้ำผ่านทางร่องแปลง

    การให้ปุ๋ยเคมีทางน้ำ หากมีการใช้ระบบน้ำหยดกับการปลูกเมล่อนแล้ว ควรที่จะใช้วิธีการให้ปุ๋ยทางน้ำแก่ต้นเมล่อน เพราะเป็นวิธีที่ให้ประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยดีที่สุด ทำได้โดยการติดตั้งปั๊มปุ๋ยเข้าที่ส่วนต้นทางของระบบน้ำหยดก่อนเข้าสู่แปลงปลูก และผสมปุ๋ยลงในถังผสมขนาดใหญ่ 80-200 ลิตร เป็นต้น เมื่อจุ่มสายดูดจาก ปั๊มปุ๋ยลงในถังผสมปุ๋ยและปล่อยให้ปั๊มทำงานเพื่อดูดปุ๋ยเข้มข้นขึ้นไปผสมกับน้ำที่ กำลังผ่านเข้าไปในแปลงปลูกสู่ต้นพืช กลายเป็นน้ำปุ๋ยเจือจางหยดให้กับต้นเมล่อนแต่ละต้น ในความเข้มข้นดังนี้ ธาตุไนโตรเจน (N) 150-200 มก./ลิตร ธาตุฟอสฟอรัส (P) 30-50 มก./ลิตร และธาตุโปแตสเซียม (K) 150-200 มก./ ลิตร ในช่วงหลังของการพัฒนาของผล ควรเพิ่มความเข้มข้นธาตุอาหารโปแตสเซียม ให้มากขึ้นอีกเล็กน้อยและลดความเข้มข้นของไนโตรเจนที่ให้ไปพร้อมกับน้ำลง เพื่อเพิ่มความหวานให้แก่แตงเทศก่อนการเก็บเกี่ยว

    ปัจจุบันปุ๋ยน้ำสำเร็จรูปที่อยู่ในรูปผงที่ละลายน้ำได้มีการนำมาจำหน่ายแล้ว มีมากมายหลายสูตรแตกต่างกันไปตามบริษัทผู้ผลิต ในช่วงแรกของการเจริญเติบโตทางใบและลำต้นก่อนการออกดอกติดผล ควรใช้สูตรปุ๋ยที่ให้ธาตุไนโตรเจนสูง เช่น 20- 20-20, 21-11-21, 10-10-20 หรือสูตรใกล้เคียง เป็นต้น แต่ภายหลังเมื่อเริ่มออกดอกติดผลแล้ว ควรเปลี่ยนมาใช้สูตรปุ๋ยที่มีธาตุโปแตสเซียมสูงขึ้น เช่น 14-7- 28, 12-5-40 หรือสูตรใกล้เคียง เป็นต้น ความเข้มข้นในถังปุ๋ยที่จะทำการผสม เพื่อดูดไปผสมกับน้ำแล้วได้ความเข้มข้น สุดท้ายเท่ากับที่ต้องการให้กับต้นเมล่อนนั้น จะขึ้นกับอัตราการดูดปุ๋ยของปั๊มปุ๋ย และอัตราการไหลของน้ำเข้าสู่แปลงปลูกซึ่งจะแตกต่างกันไป ตามชนิดและขนาดของปั๊มปุ๋ยที่ใช้ และอัตราการไหลของน้ำเข้าสู่แปลง คำนวณจากจำนวนหัวน้ำหยดและอัตราการหยดต่อหัว

    การเพิ่มความหวานให้แก่เมล่อน
    การเพิ่มความหวานในผลก่อนเก็บเกี่ยว ก่อนการเก็บเกี่ยว 1 สัปดาห์ให้ค่อยๆ ลดปริมาณการให้น้ำแก่ต้นเมล่อนลงทีละน้อย จนถึง 2 วันก่อนเก็บเกี่ยว ให้ลดน้ำลง จนกระทั่งต้นเมล่อนปรากฎเกิดอาการเหี่ยวในช่วงกลางวัน การทำเช่นนี้จะช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์น้ำตาลในผลเมล่อนและลดปัญหาการแตกของผลเมล่อนก่อนการเก็บเกี่ยว เมล่อนที่จัดว่ามีความหวานอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เป็นที่ต้องการของตลาด ควรมีค่าความหวานอยู่ที่ประมาณ 14 องศาบริกซ์ ขึ้นไป หรืออย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่า 12 องศาบริกซ์ ยิ่งมีค่ามากยิ่งหวานมาก และเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น

    การเก็บเกี่ยว
    เมื่อผลเมล่อนสุกแก่ จะมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอก คือ ในพันธุ์ที่ผิวมีร่างแหจะพบว่าร่างแหเกิดขึ้นเต็มที่คลอบคลุมทั้งผล ผิวเริ่มเปลี่ยนสีและอ่อนนุ่มลง และในบางพันธุ์เริ่มมีกลิ่นหอมเกิดขึ้น เกิดรอยแยกที่ขั้วจนในที่สุดผลจะหลุดออกจากขั้ว ในการเก็บเกี่ยวผลเมล่อนเพื่อการจำหน่ายจึงต้องเก็บเกี่ยว ในระยะที่พอดี หากเก็บเร็วเกินไปจะได้ผลเมล่อนที่อ่อนเกินไป รสชาติยังไม่หวานและมีน้ำหนักน้อย หากเก็บเกี่ยวล่าช้าไป ผิวและเนื้อภายในจะอ่อนนุ่มเกินไปไม่เหมาะสำหรับการเก็บรักษาและการจำหน่าย อายุเก็บเกี่ยวของเมล่อนที่เหมาะสมนั้นขึ้นกับพันธุ์ ซึ่งมีทั้งพันธุ์เบา ที่มีอายุการเก็บเกี่ยว 60-65 วัน หลังหยอดเมล็ด หรือ 30-35 วัน หลังดอกบาน, พันธุ์ปานกลางมีอายุเก็บเกี่ยว 70-75 วัน หลังหยอดเมล็ด หรือ 40-45 วัน หลังดอกบาน พันธุ์หนักที่มีอายุเก็บเกี่ยวเกินกว่า 80-85 วันหลังเพาะเมล็ดหรือ 50-55 วัน หลังดอกบาน

    นอกจากการนับจำนวนวันแล้ว การเก็บเกี่ยวเมล่อนยังสามารถดูจากลักษณะภายนอกได้ด้วย เมล่อนที่เริ่มสุกแก่เก็บเกี่ยวได้จะเริ่มมีกลิ่นหอมในพันธุ์ที่มีกลิ่มหอมและมีรอยแยกที่ขั้วผลเกิดขึ้นแสดงว่าผลเมล่อนกำลังจะหลุดร่วงจากต้นโดยทั่วไปมักจะเก็บเกี่ยวเมื่อเกิดรอยแยกประมาณ 50% หรือครึ่งหนึ่งของรอบขั้วผล ซึ่งเป็นระยะที่ผิวของผลเมล่อนยังไม่อ่อนนุ่มจนเกินไป สามารถเก็บรักษาหรือขนส่งไปจำหน่ายในตลาดได้โดยไม่กระทบกระเทือน และอยู่ตลาดได้อีกระยะหนึ่ง

    การเก็บรักษา
    เมล่อนเป็นผลไม้สามารถเก็บเกี่ยวในระยะที่ผลพัฒนาเต็มที่แต่ยังไม่ถึงระยะสุกงอมและนำมาบ่นให้สุกก่อนการบริโภคได้เช่นเดียวกับมะม่วง กล้วยและมะละกอ ดังนั้นถ้าหากเก็บเกี่ยวเมล่อนที่แก่แล้วนำมาวางเก็บไว้ในสภาพอุณหภูมิห้อง (ประมาณ 27-30 องศาเซลเซียส) ผลเมล่อนจะเกิดการสุกงอม เนื้อผลอ่อนและเน่าเสียในที่สุด ในเวลาอันสั้น หากต้องการเก็บรักษาเมล่อนให้คงสภาพเดิมไว้ให้นานที่สุด เพื่อรอการจำหน่ายหรือขนส่งไปจำหน่ายในสถานที่ห่างไกล ควรจะต้องเก็บเมล่อนในสภาพที่มีอากาศเย็น ประมาณ 2-5 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์สูงถึง 95% จะสามารถยืดอายุการเก็บรักษาเมล่อนออกไปได้นานถึง 15 วัน ในระหว่างการขนส่งและวางจำหน่ายหากสวมผลเมล่อนไว้ในถุงตาข่ายโฟมจะช่วย ป้องกันการกระแทกระหว่างกัน กันให้เกิดรอยซ้ำได้


    โรคและแมลงที่สำคัญของเมล่อน

    โรคราน้ำค้าง�

    เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราชนิด Pseudoperonospora ชนิดหนึ่งซึ่งระบาดในสภาพอุณหภูมิต่ำและมีความชื้นสูง อาการของโรคเกิดขึ้นบนใบเป็นแผลสีน้ำตาลอ่อน มีเส้นใยของเชื้อราสีขาวหม่นเกิดขึ้นที่ใต้ใบบริเวนที่ตรงกับแผล เมื่ออาการรุนแรง ทำให้ใบแห้ง และเถาตายได้ในขณะที่กำลังออกดอกติดผล

    อาการของโรคราน้ำค้างบนใบเป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญสำหรับกำรปลูกเมล่อนในฤดูฝนของประเทศไทยที่มีสภาพแวดล้อมที่อำนวยต่อการระบาดของเชื้อโรค การป้องกันก่อนการเกิดโรคในฤดูฝน ควรมีการฉีดสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เป็นระยะๆ ทุกสัปดาห์ ถ้ำหากพบว่าเชื้อราเข้าทำลายแล้วควรควบคุมอาการของโรคด้วยสารเคมีกำจัดเชื้อรา โมติเวท (เมทาแลกซิล) โมนีส (แคปแทน) คาริสมา (โพรพาโมคาร์บ ไฮโดรคลอไรด์) ควรพ่นสารจากกลุ่มที่ออกฤทธิ์น้อยก่อน และ/หรือสลับกลับกลุ่มที่มีสารออกฤทธิ์เพิ่มขึ้น สำหรับต้นที่มีอาการรุนแรงแล้วควรถอนต้นทิ้งแล้วนำมาเผาไฟเสีย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคออกไปมากยิ่งขึ้น
    โรคเหี่ยวจากเชื้อฟูซาเลียม (Fusarium wilt)
    เกิดจากเชื้อราชนิด Fusarium ที่อยู่ในดิน ทำให้ต้นเมล่อนเกิดอาการใบเหลืองและเหี่ยวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเชื้อโรคเข้าทำลายในท่อน้ำท่ออาหาร การรักษาทำได้ค่อนข้างลำบากเพราะเชื้อโรคอยู่ในดิน เมื่อพบว่ามีต้นเป็นโรคนี้ ควรถอนต้นที่เป็นโรคทิ้ง การปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของดินให้มีค่าสูงขึ้น จะช่วยชะลออาการของโรคนี้ได้ ถ้าพบว่าเกิดโรคนี้อย่างรุนแรงในพื้นที่ปลูกใด ควรงดการปลูกพืชในวงศ์แตงนี้ซ้ำในที่เดิมในฤดูติดกัน

    เพลี้ยไฟ (Thrips)
    เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมากเท่าปลายเข็ม ตัวอ่อนมีสีแดง ตัวแก่เป็นสีดำดูดน้ำเลี้ยงที่ปลายยอดอ่อนของต้น ทำให้ยอดชะงักการเจริญเติบโต หดสั้น บิดเบี้ยว ระบาดมากในสภาพอากาศร้อนและแห้งของฤดูร้อน โดยมีลมเป็นพาหะพาเพลี้ยไฟเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น ป้องกันกำจัดได้ด้วยการปลูกพืชที่กันชนที่ต้านทานเพลี้ยไฟ เช่น มะระ ล้อมรอบแปลง และฉีดพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง แลนเนท

    ด้วงเต่าแตง (Leaf beatle)
    เป็นแมลงปีกแข็ง ลำตัวยาวประมาณ 1 ซม. ปีกมีสีเหลืองปนส้มกัดกินใบแตง ให้แหว่งเป็นวงๆ ถ้ำระบาดและทำความเสียหายให้กับใบจำวนมา ให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง เซฟวิน 85 หรือตั้งแต่ก่อนย้ายปลูก ให้หยอดสารเคมีกำจัดแมลงชนิดดูดซึม
    คือคาร์โบฟูราน หรือฟูราดาน ที่ก้นหลุม ก่อนย้ายปลูก ซึ่งจะมีฤิทธ์ป้องกันแมลงต่างๆได้ประมาณ 45 วันแต่ไม่ควรใช้สารเคมีชนิดนี้อีกในระหว่างการเจริญเติบโตและติดผล เพราะจะตกค้างในผลผลิต เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

    คลิปเมล่อนกับแคนตาลูปต่างกันยังไง


    เมล่อน( 50 รายการ )

    เมล่อน โกลเด้นควีน 1520

    ขนาด 1 ซอง 5 เมล็ด
    รหัสสินค้า A6259
    หมดอายุ 1/69

    19.00 - 22.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เมล็ดเมล่อน โกลเด้นควีน

    ขนาด 1 ห่อ 50 เมล็ด
    รหัสสินค้า A6258
    หมดอายุ 1/69

    160.00 - 179.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    ไดเทน เอ็นที เอ็ม-45

    แมนโคเซบ
    รหัสสินค้า A4030
    ไม่ระบุ

    2,669.00 - 2,819.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เอ็กซอล แบบซอง ยกลัง

    4 X 50 X 15ml.
    รหัสสินค้า A4395
    ไม่ระบุ

    18,399.00 - 18,599.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    แคนตาลูบ ยังบาสเกตบอล

    350 เมล็ด ความงอก 75%
    รหัสสินค้า A4472
    หมดอายุ 5/68

    69.00 - 99.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    แคนตาลูบพันธุ์ร็อคสตาร์

    1 กรัม ความงอก 75 %
    รหัสสินค้า A4732
    หมดอายุ 5/68

    10.00 - 12.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    แคนตาลูบ ร็อคสตาร์

    10 กรัม ความงอก 75 %
    รหัสสินค้า A4471
    หมดอายุ 5/68

    69.00 - 99.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    ข้าวโพดเทียนรวม น้ำน่าน

    ยกลัง 100 ซอง
    รหัสสินค้า A5445
    หมดอายุ 3/69

    669.00 - 689.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    ข้าวโพดขาว(ข้าวเหนียว)

    ยกลัง 100 ซอง
    รหัสสินค้า A5444
    หมดอายุ 0/543

    669.00 - 689.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เมล็ดเมล่อน ฮาร์มี

    4 เมล็ด ความงอก 80%
    รหัสสินค้า A6228
    หมดอายุ 12/68

    21.00 - 23.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เมล่อน พอท ออเร้นจ์

    40 เมล็ด ความงอก 80%
    รหัสสินค้า A6222
    หมดอายุ 9/68

    159.00 - 199.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เมล่อน พันธุ์เนื้อเขียว

    5 เมล็ด ความงอก 80%
    รหัสสินค้า A3486
    หมดอายุ 12/67

    8.00 - 10.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เมล็ดเมล่อน ซึเนโอะ

    12 เมล็ด ความงอก 75%
    รหัสสินค้า A3791
    หมดอายุ 5/68

    21.50 - 24.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เมล่อน นิว 45

    12 เมล็ด ความงอก 75%
    รหัสสินค้า A3795
    หมดอายุ 9/68

    แจกฟรี สูงสุด 5 ซอง

    เมล่อน นิว 45

    120 เมล็ด ความงอก 75%
    รหัสสินค้า A3794
    หมดอายุ 9/68

    139.00 - 189.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เมล็ดเมล่อน มาโมรุ

    12 เมล็ด ความงอก 75%
    รหัสสินค้า A3793
    หมดอายุ 5/68

    แจกฟรี สูงสุด 5 ซอง

    เมล่อน ธันเดอร์ โกลด์

    ยกลัง 50 ซอง
    รหัสสินค้า A4311
    หมดอายุ 12/68

    779.00 - 790.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เมล็ดเมล่อน อัลฟ่า

    3 เมล็ด ความงอก 80%
    รหัสสินค้า A6224
    หมดอายุ 6/68

    21.00 - 23.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เมล็ดเมล่อน แค็ท697

    ยกลัง 50 ซอง
    รหัสสินค้า A2945
    หมดอายุ 3/69

    779.00 - 790.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เมล็ดเมล่อน ปริ้นเซส

    ยกลัง 50 ซอง
    รหัสสินค้า A4965
    หมดอายุ 2/69

    779.00 - 790.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เมล่อนลูกผสม เลดี้โกลด์

    12 เมล็ด ความงอก 85%
    รหัสสินค้า A2496
    หมดอายุ 12/68

    16.00 - 18.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เมล่อนลูกผสม เลดี้กรีน

    12 เมล็ด ความงอก 85%
    รหัสสินค้า A2517
    หมดอายุ 7/69

    16.00 - 18.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    ดาวเรืองสีเหลือง บีกิน

    10 เมล็ด ความงอก 70%
    รหัสสินค้า A3134
    หมดอายุ 12/68

    21.50 - 24.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เมล่อน ธันเดอร์ โกลด์

    ขนาด 1 ห่อ 500 เมล็ด
    รหัสสินค้า A3872
    หมดอายุ 12/68

    160.00 - 179.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เอ็กซอล

    สไปนีโทแรม
    รหัสสินค้า A4028
    ไม่ระบุ

    29,099.00 - 29,259.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เอ็กซอล แบบซอง 15 ml

    สไปนีโทแรม 12%W/V SC
    รหัสสินค้า A185
    ไม่ระบุ

    99.00 - 119.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เอ็กซอล

    สไปนีโทแรม
    รหัสสินค้า A3889
    ไม่ระบุ

    4,659.00 - 4,799.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เมล็ดเมล่อน ปริ้นเซส

    ขนาด 1 ห่อ 300 เมล็ด
    รหัสสินค้า A1298
    หมดอายุ 2/69

    160.00 - 179.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เมล็ดเมล่อน รักบี้บอล

    ขนาด 1 ซอง 40 เมล็ด
    รหัสสินค้า A325
    หมดอายุ 8/68

    19.00 - 22.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เมล็ดเมล่อน ปริ้นเซส

    ขนาด 1 ซอง 30 เมล็ด
    รหัสสินค้า A333
    หมดอายุ 2/69

    19.00 - 22.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เมล่อน กรีนเน็ต ที778

    7 เมล็ด ความงอก 80%
    รหัสสินค้า A776
    หมดอายุ 12/68

    21.00 - 23.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เมล็ดเมล่อน แค็ท697

    ขนาด 1 ห่อ 500 เมล็ด
    รหัสสินค้า A1338
    หมดอายุ 3/69

    160.00 - 179.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เมล็ดเมล่อน รักบี้บอล

    ขนาด 1 ห่อ 400 เมล็ด
    รหัสสินค้า A1330
    หมดอายุ 8/68

    160.00 - 179.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เมล็ดเมล่อน แค็ท697

    ขนาด 1 ซอง 50 เมล็ด
    รหัสสินค้า A1434
    หมดอายุ 3/69

    19.00 - 22.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    สตาร์เกิล จี 1 กิโลกรัม

    ไดโนทีฟูแรน
    รหัสสินค้า A4039
    หมดอายุ /543

    3,489.00 - 3,599.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    แจคเก็ต 1 ลิตร ยกลัง

    อะบาเม็กติน
    รหัสสินค้า A4019
    ไม่ระบุ

    4,839.00 - 4,999.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เซฟวิน 85 ขนาด 500 กรัม

    คาร์บาริล (carbaryl)
    รหัสสินค้า A154
    ไม่ระบุ

    339.00 - 389.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เซฟวิน 85 (100 กรัม)

    คาร์บาริล
    รหัสสินค้า A4143
    ไม่ระบุ

    82.00 - 89.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เซฟวิน 85 ขนาด 1 กิโล

    คาร์บาริล (carbaryl)
    รหัสสินค้า A4023
    ไม่ระบุ

    599.00 - 659.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เซฟวิน 85 ขนาด 500 กรัม

    คาร์บาริล (carbaryl)
    รหัสสินค้า A3969
    ไม่ระบุ

    5,199.00 - 5,299.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    จอยท์ 500 CC

    ฟลูไตรอะฟอล
    รหัสสินค้า A161
    ไม่ระบุ

    519.00 - 559.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    กาบิน่า

    เพนทิโอไพแรด
    รหัสสินค้า A3631
    ไม่ระบุ

    1,999.00 - 2,299.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เอสโตเคด

    แมนโคเซบ+วาลิฟีนาเลท
    รหัสสินค้า A2604
    ไม่ระบุ

    859.00 - 879.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เอสโตเคด

    แมนโคเซบ+วาลิฟีนาเลท
    รหัสสินค้า A440
    ไม่ระบุ

    90.00 - 99.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    ฟังกูราน-โอเอช

    คอปเปอร์ ไฮดรอกไซด์ 77%
    รหัสสินค้า A160
    ไม่ระบุ

    430.00 - 489.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    แจคเก็ต

    อะบาเม็กติน
    รหัสสินค้า A2601
    ไม่ระบุ

    429.00 - 449.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    โฟแมกซ์โบรอน 400 ยกลัง

    คัลเซียมโบรอน400
    รหัสสินค้า A4021
    ไม่ระบุ

    2,899.00 - 3,099.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    โฟแมกซ์

    คัลเซียมโบรอน 400
    รหัสสินค้า A3087
    ไม่ระบุ

    269.00 - 299.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    เอ็กซอล

    สไปนีโทแรม
    รหัสสินค้า A2939
    ไม่ระบุ

    1,229.00 - 1,249.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก

    ฟังกูราน-โอเอช

    คอปเปอร์ ไฮดรอกไซด์ 77%
    รหัสสินค้า A2576
    ไม่ระบุ

    419.00 - 449.00 ฿
    ส่งฟรี ซื้อ 3 ครั้งแรก