LINE it!
 @allkaset





  • มะนาว


    มะนาวเป็นไม้ผลตระกูลส้มประเภทหนึ่ง เป็นพืชพื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยมีการปลูกกันอย่างแพร่หลาย แหล่งเพาะปลูกที่สำคัญได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี นครสวรรค์ กาญจนบุรี สมุทรสาคร นครปฐม และเชียงใหม่ ผู้คนในภูมิภาคนี้รู้จักกันและใช้ประโยชน์จากมะนาวมาช้านาน มะนาวจัดว่าเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจพืชหนึ่งที่ตลาดมีความต้องการสูงตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน ของปี มะนาวจะมีราคาสูงกว่าปกติ ทั้งนี้เนื่องจากในฤดูแล้งจะมีผลผลิตมะนาวออกสู่ตลาดน้อย

    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus aurantifolia Swing.
    ชื่อวงศ์ : Rutaceae
    ชื่อสามัญ : Lime, Common Lime

    ลักษณะทางพฤษศาสตร์

    �������ต้น �เป็นไม้พุ่มสูง 2-4 เมตร เปลือกลำต้นมีสีเทาปนน้ำตาล กิ่งอ่อนมีสีเขียวอ่อนเมื่อแก่สีเข้ม บนลำต้นและกิ่งก้านจะมีหนามแข็งแหลม ส่วนใหญ่เกิดที่ซอกใบ

    �������ใบ �เป็นใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ มีสีเขียวอ่อนรูปร่างยาวรีหรือรูปไข่ ปลายใบมีลักษณะแหลมขอบใบ

    �������ดอก� เป็นดอกเดี่ยว หรือช่อดอก เกิดบริเวณซอกใบและปลายกิ่งกลีบดอกสีขาว กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อนเกสรตัวผู้อยู่เป็นกลุ่ม เกสรตัวเมียรูปคล้ายทรงกระบอก

    �������ผล �ผลสดรูปกลมและรูปยาวรีหรือรูปไข่ มีขนาดกว้าง ยาวประมาณ 3-12 เซนติเมตร ผิวเปลือกมีลักษณะขรุขระ และมีต่อมน้ำมันที่ผิว

    �������เมล็ด� ขนาดเล็กคล้ายรูปไข่ ด้านปลายหัวจะแหลม ภายในเมล็ดมีเนื้อเยื่อสีขาว

    พันธุ์มะนาวและลักษณะประจําพันธุ์
    พันธุ์มะนาวมีความสําคัญทางเศรษฐกิจ เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และนิยมปลูกเป็นการค้ากันมากในปัจจุบัน มีอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น
    1. มะนาวหนัง ผลอ่อนมีลักษณะกลมยาวหัวท้ายแหลม เมื่อโตเต็มที่ผลจะมีลักษณะกลมค่อนข้างยาวมีกลมมนบ้างเล็กน้อย ด้านหัวมีจุกเล็ก ๆ มีเปลือกค่อนข้างหนา จึงทําให้เก็บรักษาผลไว้ได้นาน
    2. มะนาวไข่ มีขนาดและลักษณะคล้ายมะนาวหนังเกือบทุกอย่าง ผลอ่อนมีลักษณะกลมยาวหัวท้ายแหลม เมื่อโตเต็มที่ผลจะมีลักษณะกลมมนเป็นส่วนมาก เปลือกบาง ผลโตกว่ามะนาวหนัง
    3. มะนาวแป้น เป็นมะนาวที่สามารถให้ดอกออกผลตลอดปี ผลมีขนาดกลาง ทรงผลแป้น เปลือกบางมีหลายพันธุ์ เช่น
    3.1 พันธุ์แป้นรําไพ เป็นพันธุ์ลูกผสมระหว่างมะนาวพันธุ์แป้นทวายกับพันธุ์ต่างประเทศ สามารถผลิตมะนาวนอกฤดูได้ดี เพราะออกดอกติดผลง่าย อายุการเก็บเกี่ยวสั้น คือ ตั้งแต่ออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยวใช้เวลาประมาณ 4 เดือนครึ่ง ให้ผลดกตลอดปี ทรงแป้นเปลือกผลบาง ปริมาณน้ำในผลมีมาก รสชาติเปรี้ยวมีกลิ่นหอมรุนแรง ซึ่งนอกจากจะนํามาใช้ประกอบอาหารแล้วยังนิยมใช้ทําน้ำมะนาวปั่น ตลาดมีความต้องการ ลักษณะทรงพุ่มของมะนาวพันธุ์แป้นรําไพ จะคล้ายกับมะนาวพื้นเมืองแต่มีจุดที่ต่างกันเล็กน้อยคือ มีหนามสั้น มีข้อค่อนข้างถี่ และมีใบมาก สําหรับจุดด้อยของมะนาวพันธุ์นี้คือ ไม่ต้านทานโรคแคงเกอร์ และโรครากเน่า
    3.2 พันธุ์ทะวาย เป็นมะนาวที่มีลักษณะคล้ายกับมะนาวแป้นรําไพมาก มีผลกลมแป้น ผลมีขนาดกลาง เปลือกบาง ติดผลดก และให้ผลดกตลอดปี รสชาติดี มีกลิ่นหอมรุนแรง นิยมใช้ในการประกอบอาหารและทําน้ำมะนาวปั่น ตลาดมีความต้องการสูงมะนาวพันธุ์แป้นทะวาย มีจุดที่แตกต่างกับมะนาวพันธุ์แป้นรําไพ คือ มะนาวพันธุ์แป้นทะวายจะติดผลดก และเป็นกลุ่มเป็นส่วนมาก และผลมีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย ส่วนข้อเสียของมะนาวพันธุ์นี้คือ ไม่ต้านทานโรคแคงเกอร์ และโรครากเน่า
    3.3 พันธุ์แป้นจริยา ลักษณะเด่นผลใหญ่กว่าแป้นรําไพ หรือขนาดผล 10 ผลต่อกิโลกรัม มีน้ำมากและมีกลิ่นหอมเหมือนมะนาวแป้นรําไพ ข้อเด่นคือ ให้ผลผลิตทั้งปี ผลออกตามง่ามใบ เมื่อยังไม่แก่ผลสีเขียวแต่เมื่อผลแก่จะเป็นสีเหลือง เช่นเดียวกับมะนาวทั่วไป ข้อเสียคือ ไม่ต้านทานโรคแคงเกอร์
    3.4 พันธุ์แป้นดกพิเศษ ได้มาจากการคัดสายพันธุ์มะนาวแป้นรําไพที่ให้ผลผลิตสูง และมีลักษณะพิเศษคือ ผลใหญ่ เปลือกบาง ให้ผลผลิตดกมากและติดผลเป็นพวง ปริมาณน้ำมาก หอม และมีรสชาติเหมือนกับมะนาวแป้นรําไพทุกประการ และได้มีการตั้งชื่อพันธุ์ว่า “พันธุ์แป้นดกพิเศษ” ข้อเสียคือ ไม่ต้านทานโรคแคงเกอร์ และโรครากเน่า
    3.5 พันธุ์แป้นพิจิตร 1 เป็นมะนาวสายพันธุ์ใหม่ เป็นมะนาวลูกผสมระหว่างมะนาวพันธุ์แป้นรําไพกับมะนาวน้ำหอมอุดร โดยศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร กรมวิชาการเกษตร ได้ดําเนินการพัฒนา และปรับปรุงพันธุ์ลักษณะเด่น คือ
    1) ปลูกง่าย โตเร็ว ให้ผลผลิตสูง
    2) ต้านทานโรคแคงเกอร์
    3) ลูกใหญ่ ผลดก ทรงแป้น น้ำเยอะ มีกลิ่นหอม
    4) เหมาะสําหรับทํามะนาวนอกฤดู ปลูกในวงบ่อซีเมนต์ได้ดี ควบคุมการออกดอกได้ง่าย
    4. มะนาวด่านเกวียน เป็นมะนาวที่เกิดจากต้นเพาะเมล็ดจุดเด่น คือ ปลูกง่ายอายุการเก็บเกี่ยวสั้นประมาณ 2 เดือนครึ่งถึง 3 เดือน ทนทานต่อโรคแคงเกอร์ได้ดี ให้ผลผลิตนอกฤดูได้ดี ผลมีลักษณะกลมใหญ่ผลแก่จัดมีสีเหลือง เนื้อผลมีสีเหลืองส้มอ่อนๆ มีน้ำมาก รสชาติเปรี้ยวอมหวานเล็กน้อย นิยมนําไปทําน้ำมะนาวปั่น เพราะน้ำคั้นมีกลิ่นหอม มีเมล็ดประมาณ 15 – 20 เมล็ดต่อผล ข้อเสียของมะนาวพันธุ์นี้คือ ถ้าปล่อยให้แก่จัดไส้ในผลจะเป็นโพรง น้ำคั้นจะมีสีเหลืองอ่อน และจะมีลักษณะผลคล้ายผลมะกรูดหรือส้ม
    5. มะนาวพันธุ์ตาฮิติ เป็นมะนาวสายพันธุ์ที่นํามาจากหมู่เกาะตาฮิติ ประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีการปลูกแพร่หลายในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ลักษณะเด่นของมะนาวพันธุ์นี้คือ ผลมีขนาดใหญ่ ไม่มีเมล็ด และเปลือกค่อนข้างหนา ทําให้ทนทานต่อการขนส่งทางไกลได้ดี ทนทานต่อโรคแคงเกอร์ และโรคเน่า ผลแก่จัดจะมีสีเขียวอมเหลือง มีน้ำมากรสเปรี้ยวจัดมาก ไม่มีกลิ่นหอม และไม่มีเมล็ด ส่วนใหญ่จะใช้ประโยชน์แทนในช่วงที่ไม่มีมะนาวอื่นเท่านั้น ให้ผลดกตลอดทั้งปี ปัจจุบันนิยมส่งออก


    สภาพพื้นที่
    - มะนาว สามารถปลูกได้ทั้งในที่ดอนและที่ลุ่ม ซึ่งต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วมขัง สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 750 เมตร ความลาดเอียงของพื้นที่ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ อยู่ใกล้แหล่งน้ำ มีการคมนาคมสะดวกและต้องอยู่ห่างจากแหล่งปลูกมะนาวหรือส้มเดิมที่มีการระบาดของโรคที่มีแมลงเป็นพาหนะอย่างน้อย 10กิโลเมตร
    ลักษณะดิน
    - มะนาวชอบดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี มีค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ระหว่าง5.5-6.5 มีความอุดมสมบูรณ์สูง ปริมาณอินทรียวัตถุไม่น้อยกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ ความลึกของระดับหน้าดินไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร และมีระดับน้ำใต้ดินไม่ควรสูงกว่า 1 เมตร
    หมายเหตุ - ควรมีการวิเคราะห์ดินเพื่อทราบค่าความเป็นกรด-ด่าง / ปริมาณธาตุอาหาร / ปริมาณอินทรียวัตถุ ฯลฯ ก่อนตัดสินใจปลูก
    สภาพภูมิอากาศ
    - อุณหภูมิเหมาะสมเฉลี่ยประมาณ 26-32 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง1,000-1,200 มิลลิเมตรต่อปี มะนาวจะชอบแดดจัด และมีปริมาณแสงไม่น้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน
    แหล่งน้ำ
    - มะนาวต้องการปริมาณน้ำที่เพียงพอสําหรับใช้ตลอดปี น้ำจะต้องสะอาดไม่มีสารอินทรีย์และอนินทรีย์ที่เป็นพิษปนเปื้อน และมีค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ระหว่าง 5.5-7.0


    วิธีการปลูกมะนาวแบบลงดิน

    วิธีการปลูก
    1. ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
    2. ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 เซนติเมตร
    3. ผสมดิน ปุ๋ยคอก และปุ๋ยร็อคฟอสเฟตเข้าด้วยกันในหลุมให้ สูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
    4. ยกถุงกล้าต้นไม้วางในหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
    5. ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากถุงทั้ง 2 ด้าน(ซ้ายและขวา)
    6. ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก
    7. กลบดินที่เหลือลงในหลุม
    8. กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น
    9. ปักไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลมพัดโยก
    10. หาวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง
    11. รดน้ำให้โชก
    12. ทําร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด

    การปฏิบัติดูแลรักษา
    1. การให้น้ำ
    ต้องมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงที่ปลูกใหม่ๆ ควรให้น้ำ วันละครั้งเป็นอย่างน้อย (กรณีฝนไม่ตก) หลังจากปลูกประมาณ 15 วัน มะนาวสามารถตั้งตัวได้แล้ว ให้น้ำเดือนละ 2-3 ครั้งและควรหาวัสดุมาคลุมดินบริเวณโคนต้นเพื่อช่วยรักษาความชื้น ควรเริ่มงดให้น้ำตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมเป็นต้นไป จนถึงช่วงออกดอกเพื่อให้มะนาวสะสมอาหารให้สูงถึงระดับที่สามารถสร้างตาดอกได้ ปกติมะนาวจะออกดอก เดือนเมษายน-พฤษภาคม หลังจากมะนาวออกดอก และกําลังติดผลอ่อน เป็นช่วงที่มะนาวต้องการน้ำมาก เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของผล

     

    2. การใส่ปุ๋ย
    2.1 หลังจากมะนาวอายุได้ 3-4 เดือน ควรใส่ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก ประมาณต้นละ 0.5กิโลกรัม กรณีใส่ปุ๋ยเคมีควรใส่หลังจาก พรวนดินกําจัดวัชพืชแล้ว โดยใส่บริเวณรอบทรงพุ่ม แล้วก็ให้น้ำตามเพื่อให้ปุ๋ยละลาย
    2.2 เมื่อมะนาวอายุ 1 ปี ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณ ต้นละ 300 กรัม และเมื่อมะนาวอายุ2 ปี ก็เพิ่มปริมาณปุ๋ยโดยใส่ปีละ 2 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1 กิโลกรัม ทั้งนี้ขี้นอยู่กับสภาพความอุดมสมบูรณ์ของต้น และเมื่อมะนาวอายุย่างเข้าปีที่ 3 ก็จะเริ่มให้ผลผลิต
    2.3 �ช่วงระยะก่อนออกดอกประมาณ 1-2 เดือน ให้ใส่ปุ๋ย สูตรที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น สูตร12-24-12หรืออาจใช้ปุ๋ยสูตร 3-10-10 เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในระยะที่ยังไม่ออกดอก และใช้สูตร 0-52-34 ในระยะเร่งการออกดอก ประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ปริมาณที่ใช้ ขึ้นอยู่กับอายุของต้นพืช โดยใส่ในปริมาณครึ่งหนึ่งของอายุต้น

     

    3. การกําจัดวัชพืช
    การกําจัดวัชพืชในสวนมะนาวสามารถทําได้หลายวิธี เช่น ถอน ถาง หรือใช้เครื่องตัดหญ้าแต่ต้องระวังอย่าให้เกิดบาดแผลตามโคนต้น หรือกระทบกระเทือนราก วิธีกําจัดวัชพืชอีกวิธีหนึ่งที่นิยมคือ การใช้สารเคมี เช่น พาราควอท ไกลโฟเสท ดาวพอน เป็นต้น โดยการใช้จะต้องระวัง อย่าให้สารพวกนี้ปลิวไปถูกใบมะนาวเพราะอาจเกิดอันตรายได้ เช่นทําให้ ใบไหม้เหลืองเป็นจุดๆ หรือไหม้ทั้งใบ ดังนั้นจึงควรฉีดพ่นตอนลมสงบ

    การใช้สารกำจัดวัชพืชในมะนาว
    วัชพืช
    สารกำจัดวัชพืช
    อัตราการใช้ น้ำ 20 ลิตร
    วิธีการใช้/ ข้อควรระวัง
    วัชพืชฤดูเดียว
    พาราควอท (27.6% SL)
    75-150 ซีซี.
    พ่นขณะวัชพืชเจริญเติบโตเต็มที่ก่อน ออกดอก ระวังละอองสารสัมผัสใบ และต้นมะนาว
    วัชพืชข้ามปี
    ไกลโฟเสท (48% SL)
    125-150 ซีซี.
    กลูโฟสิเนต แอมโมเนียม (15% SL)
    400-500 ซีซี.

    4. การค้ำกิ่ง
    เมื่อมะนาวใกล้จะผลิดอกออกผล ต้องมีการค้ำกิ่งให้กับต้นมะนาวด้วย เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักหรือฉีกขาดโดยเฉพาะในช่วงติดผล และยังช่วยลดความเสียหาย เนื่องจากโรคและแมลงได้ โดยวิธีการค้ำกิ่ง สามารถทํา ได้ 2 วิธี คือ
    4.1 การค้ำกิ่งโดยการใช้ไม้รวกหรือไม้ไผ่ทําเป็นง่าม สอดเข้ากับกิ่งมะนาว ให้ปลายอีกข้างหนึ่งวางตั้งรับน้ำหนักของกิ่งอยู่บนพื้นดิน แล้วใช้เชือกผูกมัดกิ่งไว้
    4.2 การค้ำกิ่งแบบคอกหรือนั่งร้าน โดยเอาไม้มาทําเป็นนั่งร้านรูปสี่เหลี่ยมรอบๆ ต้นมะนาวเพื่อรองรับกิ่งใหญ่ ๆ ของมะนาวไว้ อาจทําเป็น 2-3 ชั้น แล้วให้กิ่งพาดอยู่ที่ชั้นใดก็ได้ ซึ่งวิธีนี้จะมั่นคงทนทานและใช้ประโยชน์ ได้ดีกว่าวิธีแรก

    5. การตัดแต่งกิ่ง
    เพื่อให้มะนาวมีทรงพุ่มสวย และให้ผลดกปราศจากการทําลายของโรคและแมลงการตัดแต่งกิ่งควรทําหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว โดยตัดกิ่งที่เป็นโรค กิ่งแห้ง กิ่งที่ไม่มีประโยชน์ออกให้หมด แล้วนําไปเผาทําลาย อย่าปล่อยทิ้งไว้ตามโคนต้น เพราะจะทําให้เป็นแหล่งสะสมโรคได้

    ฤดูกาลการผลิตมะนาว
    ในรอบ 1 ปี ต้นมะนาวที่ออกตามฤดูกาลนั้นสามารถให้ผลผลิตได้ถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรก (วงจรที่ 2)ต้นมะนาวมีการออกดอกในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม – กันยายน ผลมะนาวที่นํามาใช้ประโยชน์จากน้ำคั้นได้นับตั้งแต่ออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยวอยู่ระหว่าง ประมาณ 4 เดือนครึ่ง - 5 เดือนครึ่ง ต้นมะนาวมีดอกชุดสุดท้ายประมาณปลายเดือนธันวาคม - มกราคม ซึ่งผลชุดนี้จะเก็บเกี่ยวได้ประมาณเดือนพฤษภาคม เป็นต้นไป อันเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูกาลปกติ ต้นมะนาวจะมีดอกที่เป็นชุดใหญ่อีกครั้ง (วงจรที่ 1) ประมาณปลายเดือนมีนาคมและเมษายนเมื่อผ่านช่วงฤดูแล้ง และได้รับฝนติดตามมา การเก็บเกี่ยวของผลมะนาวในรุ่นนี้ จะตรงกับช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม และมีการออกดอกมากอีกครั้งในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน เก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือนธันวาคมและมกราคม อันเป็นช่วงปลายของฤดูกาลของมะนาว และราคาของผลมะนาวจึงเริ่มเขยิบตัวสูงขึ้น ตั้งแต่ในช่วงนี้เป็นต้นไป ดังนั้น หากต้องการการผลิตให้มะนาวออกนอกฤดูได้ก็จําเป็นต้องหาวิธีในการหลีกเลี่ยง หรือสร้างจุดเหลื่อม หรือใช้วิธีการยับยั้งช่วงวงจรของการออกดอกครั้งใหญ่ทั้งสองครั้งนี้ให้ได้


    ภาพวงจรการออกดอกของมะนาว

    การบังคับให้มะนาวออกดอกนอกฤดู
    การบังคับให้มะนาวออกดอกนอกฤดู สามารถกระทําได้หลายวิธี แต่วิธีที่จะทําให้ต้นมะนาวไม่โทรมเร็ว เกินไปควรปฏิบัติดังนี้
    กันยายน : ใส่ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วน 1:3:3 เช่นปุ๋ยสูตร 8:24:24 เพื่อบํารุงให้ใบแก่เร็วขึ้น และเก็บอาหารไว้บํารุง ดอกต่อไป
    ตุลาคม : งดการให้น้ำ เพื่อให้ต้นมะนาวมีการเก็บสะสมอาหาร จนเมื่อถึงปลายเดือนตุลาคมจึงค่อยให้น้ำเต็มที่
    พฤศจิกายน : มะนาวเริ่มออกดอก ควรฉีดพ่นสารเคมีป้องกัน กําจัดแมลง ประมาณปลายเดือน พฤศจิกายน ดอกจะเริ่มบาน และเริ่มติดผล ควรป้องกันกําจัดแมลงในช่วงนี้ด้วย
    ธันวาคม : ใส่ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วน 1:1:1 เช่น ปุ๋ยสูตร 15:15:15 หรือ 16:16:16 เพื่อบํารุงต้นมะนาวให้สมบูรณ์
    กุมภาพันธ์เป็นต้นไป : ผลมะนาวจะเริ่มโตพอที่จะเก็บเกี่ยวได้บ้าง ในระยะแรก จนกระทั่งกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเตือนเมษายน ผลมะนาวก็จะโตพอที่จะเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งจะตรงกับช่วงที่มะนาวมีราคาแพงพอดีหลังจากที่ได้ทําการเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดแล้ว ประมาณเดือนพฤษภาคม ควรทําการตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมีสูตร 15:15:15 เพื่อบํารุงต้นให้สมบูรณ์ และ พร้อมสําหรับการผลิตมะนาวนอกฤดูในปีต่อไป


    ภาพวงจรการบังคับให้มะนาวออกนอกฤด

    การเก็บเกี่ยว
    การเก็บผลมะนาว ถ้าต้นเตี้ยหรือไม่สูงมากนัก ก็เก็บโดยใช้มือปลิด แต่ถ้าต้นสูงนิยมเก็บโดยใช้มีดหรือตะขอผูกติดกับด้ามไม้รวกยาว ๆ คล้อง และกระตุกผลมะนาวลงมา แต่ถ้าต้องการให้ได้ผลมะนาวที่มีคุณภาพ ไม่บอบช้ำ ก็ควรจะใช้ตะกร้อหวายในการเก็บเกี่ยว ควรเก็บในขณะที่ผลเริ่มแก่ โดยสังเกตจากด้านขั้วของผลเริ่มมีสีเหลืองเล็กน้อยผิวเปลือกจะเรียบบางใส มีสีเขียวอ่อนกว่าผลที่ยังไม่แก่ เมื่อบีบดูจะค่อนข้างนุ่มมือ ไม่ควรเก็บมะนาวที่แก่เกินไป เพราะเปลือกจะบางมาก ทําให้เกิดความเสียหายในการขนส่งได้ง่าย อีกทั้งเมื่อนําไปขายจะทําให้ขายได้ไม่นานผลเน่าเสียหายได้เร็ว

     

    การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
    วิธีการเก็บรักษามะนาวให้ไว้ได้นาน ต้องคัดผลมะนาวเสียก่อน โดยเลือกเอาผลมะนาวที่แก่พอเหมาะมีสีเขียวจัด ไม่มีสีเหลืองปน ไม่มีรอยช้ำหรือเน่า และควรมีขั้วผลติดอยู่ด้วย จากนั้นนํามาล้างทําความสะอาดโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น คลอรอกช์ ผสมน้ำในอัตรา 1 ต่อ 15 ส่วน แช่ผลมะนาวไว้นานประมาณ 5นาที แล้วนําผลมะนาวมาผึ่งลมบนตะแกรง เพื่อให้สะเด็ดน้ำ แล้วจึงทําการคัดขนาดและบรรจุเข่งหรือภาชนะบรรจุอื่นๆ ตามที่ตลาดต้องการ


    เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู ในวงบ่อซีเมนต์

    �������การปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์� เหมาะสำหรับเกษตรกรที่มีเนื้อที่น้อย ดินปลูกพืชอื่นๆ ไม่เหมาะสมผู้ที่สนใจด้านการเกษตร สามารถทำเป็นอาชีพเสริมได้ดี โดยเฉพาะช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน มะนาวจะมีราคาสูงทุกปีประมาณผลละ 2-7 บาท
    การปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมจร์สามารถบังคับให้ออกดอก ออกผล ตามวัน เวลา ที่เราต้องการได้ ผลผลิตประมาณ 150-750 ผลต่อต้น ขึ้นอยู่กับพันธุ์ อายุต้นและการปฏิบัติดูแลรักษา� ซึ่งมีขั้นตอนและวิธีดำเนินการดังนี้
    1. การคัดเลือกพันธุ์
    มะนาวที่ปลูกในวงบ่อซีเมนต์ใช้ได้ทุกพันธุ์� แต่ที่สำคัญต้องเป็นพันธุ์ที่ตลาดต้องการมีการออกดอก ติดผลง่าย ให้ผลดก ผลมีขนาดใหญ่เปลือกบาง� มีน้ำมาก� มีกลิ่นหอม� และทนทานต่อโรคและแมลง พันธุ์ที่ตลาดนิยม ได้แก่พันธุ์แป้นรำไพ แป้นจริยา พันธุ์พิจิตร 1 และพันธุ์ตาฮิติเป็นต้น พันธุ์พิจิตร 1 และพันธุ์ตาฮิติ เป็นมะนาวที่ทนทานต่อโรคแคงเกอร์ที่ผล ใบ และลำต้นดีกว่าทุกพันธุ์

    2. การเตรียมวงบ่อซีเมนต์
    ควรใช้บ่อซีเมนต์ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 80 - 100 ซม.� สูง 40 - 60 ซม.ที่ด้านล่างหรือก้นบ่อ ควรมีฝาซีเมนต์วงกลมขนาด 80-90 ซม. รองรับอยู่ด้านล่าง เพื่อป้องกันไม่ให้รากมะนาวหยั่งลงดินนอกก้นบ่อ บังคับออกผลนอกฤดูได้ยาก

    3. การวางบ่อซีเมนต์
    เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานควรวางวงบ่อเป็นแถวเป็นแนว ถ้ามีพื้นที่จำกัด ควรวางแถวเดียวระยะ 2x2 เมตร หรือ 2x3 เมตร แต่ถ้ามีพื้นที่มาก ควรวางวงท่อแบบแถวคู่� 2x2 เมตร แต่ละคู่ห่างกัน 3-4 เมตร

    4.� การเตรียมดินปลูก
    ดินที่ใช้ปลูกควรเป็นดินผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเหมือนการปลูกไม้กระถางทั่วไป เป็นดินชั้นบนที่เป็นดินร่วนมีความอุดมสมบูรณ์สูง โดยใช้ดินร่วน 3 ส่วน ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 2 ส่วน ขี้เถ้าแกลยดำ 1 ส่วน หรือใช้ดินร่วน 3 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ปุ๋ยหมัก 1 ส่วน� ขี้เถ้าแกลบดำ 1 ส่วนผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้วตักใส่วงบ่อ กดดินหรือขึ้นเหยียบดิน โดยเฉพาะบริเวณขอบบ่อด้านล่างให้แน่น พูนดินสูงจากปากบ่อ 20-30 ซม. เผื่อดินยุบตัวภายหลัง

    5.� การปลูก
    นำต้นพันธุ์มะนาวจากต้นกิ่งตอนต้นปักชำ� หรือต้นต่อยอดที่สมบูรณ์แข็งแรงดีมาปลูกตรงกลางวงบ่อ�� โดยขุดหลุมเล็กน้อย รองก้นหลุม
    ด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 100-150 กรัมต่อหลุม ใช้มีดกรีดก้นถุงพลาสติกสีดำโดยรอบ แล้วนำต้นมะนาวไปวางในหลุม กลบดินเล็กน้อย ใช้มีดกรีดถุงพลาสติกที่เหลือออก กลบดินกดดินให้แน่น ใช้ไม้ไผ่ปักหลักกันลมโยกแล้วรดน้ำให้ชุ่ม

    6.� การปฏิบัติดูแลรักษา
    6.1� การให้น้ำ ใช้สายยางรดน้ำหรือต่อระบบน้ำแบบมินิสปริงเกลอร์รดน้ำมะนาว 1-2 วันต่อครั้ง หรือวันละ 1 ครั้ง เฉพาะเวลาเช้า
    6.2� การใส่ปุ๋ย� หลังจากปลูกมะนาวได้ 1 เดือน ควรใส่ปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งการเจริญเติบโต โดยใช้ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 16-16-16 และปุ๋ยยูเรียเล็กน้อย อัตรา 100-150 กรัม หรือครึ่งกำมือต่อต้น ใส่เดือนละครั้งในระยะบังคับให้ออกดอก� ควรใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 สูตร 15-30-15 หรือใส่ปุ๋ยที่มีตัวกลางสูง อัตรา 100-150 กรัมต่อต้น
    6.3� การคลุมโคนต้น� หลังจากปลูกแล้วควรใช้เศษฟางข้าวหญ้าแห้ง แกลบดิน กาบมะพร้าว ฯลฯ คลุมโคนต้นเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในดินและคลุมวัชพืชในวงบ่อด้วย
    6.4� การตัดแต่งกิ่ง ถ้าต้นมะนาวสมบูรณ์ดี มะนาวจะแตกกิ่งเล็กๆ จำนวนมาก� ควรตัดกิ่งที่ไม่เป็นระเบียบ กิ่งที่ซ้อนกัน กิ่งที่อยู่ด้านล่างของต้นไม่ควรหนักไปทางทิศใดทิศหนึ่งมากเกินไป เมื่อมะนาวออกผลอาจหักและล้มได้

    6.5� การค้ำกิ่ง� มะนาวที่ปลูกในวงบ่อ มีการกระจายรากจำกัด ในพื้นที่ที่มีลมแรง� เมื่อมะนาวติดผลดกมากกิ่งอาจหักหรือโค่นล้มได้ ควรป้องกันโดยการใช้ไม้ไผ่ค้ำยันกิ่งและลำต้นมะนาวแบบนั่งร้านสี่เหลี่ยมหรือปักเป็นกระโจมสามเหลี่ยม ให้มะนาวทุกต้นด้วย

    6.6� การเพิ่มดินปลูก�� หลักจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตและตัดแต่งกิ่งมะนาวแต่ละปี� ควรนำดินร่วนผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอัตราส่วน ดินร่วน 1 ส่วน ปุ๋ยหมัก 1 ส่วน หรือดินร่วน 1 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ปุ๋ยหมัก 1 ส่วน� ผสมปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 100-150 กรัม��� ผสมให้เข้ากันดีแล้วนำมาใส่เพิ่มในวงบ่อให้เต็มปากบ่อ มีลักษณะพูนขึ้นเล็กน้อย

    7.� การบังคับต้นมะนาวในวงบ่อให้ออกดอดติดผลนอกฤดู
    ต้นมะนาวที่จะบังคับให้ออกดอกนอกฤดูนั้น ควรมีอายุอย่างน้อย 8 เดือนขึ้นไป ส่วนมะนาวที่มีาอายุมากกว่า 1 ปี และเคยออกดอกติดผลแล้ว� ช่วงเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม� ควรเด็ดดอกและผลมะนาวในฤดูออกให้หมด ช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน��� ส่วนใหญ่จะมีฝนตกอยู่ควรงดการให้น้ำ พอถึงช่วงปลายเดือนสิงหาคมหรือต้นเดือนกันยายน ให้นำผ้าพลาสติกที่กันฝนขนาดกว้าง 1-1.5 เมตร ยาว 1.5-2 เมตร มาคลุมรอบวงบ่อไว้ โดยให้ชายด้านหนึ่งมัดติดกับโคนต้นมะนาว� ให้สูงจากพื้นดินปากบ่อ 20-30 ซม.� คลุมไว้ประมาณ 10-15 วัน� สังเกตใบมะนาวมีอาการเริ่มเหี่ยวใบสลด อาจมีใบร่วงบ้างหรือเหี่ยวประมาณ 75-80% ให้นำผ้าพลาสติกออกแล้วให้น้ำพร้อมปุ๋ยสุตร 12-24-12 ต้นละ 100-150 กรัม ซึ่งถ้าต้นมะนาวสมบูรณ์ดี หลังจากให้น้ำและปุ๋ยประมาณ 2 สัปดาห์ ต้นมะนาวจะผลตาดอกหรือแตกใบอ่อน พร้อมออกดอก ช่วงนี้ต้องหมั่นดูแลรักษาไม่ให้ศัตรูมาทำลายมะนาวโดยเฉพาะ เพลี้ยไฟ ไรแดง และหนอนชอนใบ เป็นต้น

    8.� การเก็บเกี่ยว
    หลังจากมะนาวออกดอก ติดผลได้ 4 - 5 เดือน� จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตสู่ตลาดได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพันธุ์และช่วงเดือนที่บังคับ� ไม่ควรปล่อยให้ผลมะนาวที่แก่แล้วอยู่บนต้นนานๆ เป็นการสิ้นเปลืองอาหารมาเลี้ยงผล อาจทำให้ต้นทรุดโทรมได้


    โรคและแมลงศัตรูของมะนาว

    โรคแคงเกอร์

    �������ลักษณะอาการจะเกิดขึ้นได้แทบทุกส่วน ทั้งที่ใบ กิ่งก้าน และผล โดยอาการที่ใบและผล จะมีลักษณะคล้ายกัน คือจะเกิดเป็นแผลกลม แล้วจะขยายใหญ่ ฟู นูนคล้ายฟองน้ำ มีสีเหลืองอ่อนถึงสีเหลืองเข้ม ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม และจะแตกเป็นสะเก็ด มีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบแผล ส่วนอาการที่กิ่งก้าน จะมีแผลฟูนูนสีเหลือง ต่อมาแผลจะแตกแห้งเป็นสีน้ำตาลขยายไปรอบๆ กิ่ง รูปร่างของแผลไม่แน่นอน และไม่มีวงแหวนล้อมรอบ เมื่อต้นมะนาวเป็นโรคนี้มากๆ จะแสดงอาการต้นโทรม แคระแกร็นใบร่วง ผลผลิตลดลง กิ่งและต้นจะแห้งตายในที่สุด
    ������� การป้องกันกําจัด ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคเผาทําลาย ไม่ขยายพันธุ์จากต้นแม่ที่เป็นโรคแคงเกอร์พยายามอย่าให้มะนาวเกิดบาดแผล และป้องกันแมลงที่เป็นพาหะ เช่น หนอนชอนใบ หรือฉีดพ่นด้วยสารเคมี กําจัดแมลงกลุ่มของสารคาร์บาริล มาลาไธออน

    โรคราดํา

    �������ลักษณะอาการ ใบ กิ่งก้าน และผลจะมีราสีดํา สกปรกกระด้างทําให้ผลไม่สวย ต้นมะนาวจะแคระแกร็น
    �������การป้องกันกําจัด ทําลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟหรือใช้ สารเคมีกําจัดแมลงฉีดพ่นเพื่อกําจัดแมลงประเภทปากดูดซึ่งเป็นสาเหตุ ทําให้เกิดโรคราดํา

    โรคกรีนนิ่ง (ใบแก้ว)

    �������ลักษณะอาการ ใบจะด่างเป็นสีเหลือง หรือขาวใสระหว่างเส้นใบ ใบมีขนาดเล็กลง ในที่สุดใบและยอดจะแห้งตาย ผลมีขนาดเล็ก น้ำหนักน้อย ต้นจะโทรม
    �������การป้องกันกําจัด ทําลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟ ใส่ปุ๋ยที่มีธาตุสังกะสีและ แมกนีเซียมปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดินให้อยู่ระหว่าง 6.0-6.5

    โรคยางไหล

    �������ลักษณะอาการ มีอาการยางไหลบริเวณลําต้นและกิ่งก้าน เปลือกจะเน่า และแผลจะลุกลามไปถึงเนื้อไม้
    �������การป้องกันกําจัด ควรตัดแต่งกิ่งและกําจัดวัชพืชเพื่อให้แสงแดด ส่องได้ทั่วถึง และควรทาบาดแผลด้วยสารทองแดงหรือกํามะถันผสมปูนขาว ถ้ามีการระบาดมากก็เผาทําลายเสีย

    โรครากเน่าและโคนเน่า

    �������ลักษณะอาการ รากฝอยและรากแขนง จะเน่ามีสีน้ำตาลหรือดํา ลักษณะเหนียว ไม่ยุ่ย เปลือกของลําต้นจะปริแตกออก โดยเฉพาะโคนต้น และมียางไหลบริเวณขอบแผล เมื่อรากและต้นถูกทําลายมากๆ จะทําให้ใบเหลืองและร่วงหล่น
    �������การป้องกันกําจัด อย่าให้มีน้ำขัง บริเวณโคนต้น และไม่ควรใส่ปุ๋ยหมักหรือ ปุ๋ยคอกมากเกินในช่วงฤดูฝน

    หนอนชอนใบ

    ���������������������������������������������������������������������������������������������������������������� หนอนชอนใบ จะทําความเสียหายให้กับมะนาวในระยะแตกใบอ่อน โดยจะชอนไชกัดกินอยู่ระหว่างผิวใบด้านหน้าและหลังใบ จะมองเห็นเป็นทางสีขาวคดเคี้ยวไปมา ใบหงิกงอ ขอบใบม้วนเข้าหาเส้นกลางใบ และใบไม่เจริญเติบโต ต้นมะนาวจะแคระแกร็นและไม่ติดผล
    �������การป้องกันกําจัด หมั่นตรวจดูตามใบและยอดของมะนาว โดยเฉพาะระยะที่มะนาวเริ่มผลิใบอ่อนกรณีที่ระบาดน้อยให้เด็ดใบเผาทําลาย หากพบมากให้ฉีดพ่น สารเคมีกําจัดแมลงกลุ่มคาร์บาริล มาลาไธออนหรือฟอร์โมไธออน ในอัตราที่ฉลากกําหนด

    หนอนกินใบ (หนอนแก้วส้ม)

    �������ลักษณะอาการ กัดกินใบอ่อนและยอดอ่อนของมะนาว
    �������การป้องกันกําจัด หมั่นตรวจตูตามใบอ่อนและยอดอ่อนเมื่อพบไข่และตัวหนอนก็จับทําลายเสีย ฉีดพ่นสารเคมีกําจัดแมลงกลุ่มเมทามิโดฟอสที่มีชื่อทางการค้าว่า ทามารอน ในอัตรา 20-30ซีซี. หรือประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้น

    เพลื้ยไฟ

    �������ลักษณะอาการ จะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ใบอ่อน และผลการทําลายจะรุนแรงในระยะผลอ่อนนับแต่เริ่มติดผล ช่วงระยะการระบาด จะขี้นอยู่กับการแตกยอดอ่อน และระยะติดผล ผลที่ถูกทําลายจะปรากฏรอยสีเทา เป็นวงบริเวณขั้วผล และก้นผลหรือเป็นขีดสีเทาตาม ความยาวของผล
    �������การป้องกันกําจัด เด็ดผลที่แคระแกร็น ถ้าพบการทําลายของเพลี้ย ให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกําจัดแมลงได้แก่ คาร์โบซัลแฟน ไซเปอร์เมทริน

     


    มะนาว( 9 รายการ )

    โฟแมกซ์

    คัลเซียมโบรอน 400
    รหัสสินค้า A3087
    ไม่ระบุ

    269.00 - 299.00 ฿
    จัดส่งฟรี เงื่อนไข

    เอ็กซอล

    สไปนีโทแรม
    รหัสสินค้า A4028

    29,099.00 - 29,259.00 ฿
    จัดส่งฟรี เงื่อนไข

    เอ็กซอล แบบซอง 15 ml

    สไปนีโทแรม 12%W/V SC
    รหัสสินค้า A185

    99.00 - 119.00 ฿
    จัดส่งฟรี เงื่อนไข

    เอ็กซอล

    สไปนีโทแรม
    รหัสสินค้า A2939
    ไม่ระบุ

    1,229.00 - 1,249.00 ฿
    จัดส่งฟรี เงื่อนไข

    เอ็กซอล

    สไปนีโทแรม
    รหัสสินค้า A3889
    ไม่ระบุ

    4,659.00 - 4,799.00 ฿
    จัดส่งฟรี เงื่อนไข

    เอ็กซอล แบบซอง ยกลัง

    4 X 50 X 15ml.
    รหัสสินค้า A4395

    18,399.00 - 18,599.00 ฿
    จัดส่งฟรี เงื่อนไข

    คอปเปอร์-ไฮ ยกลัง

    คอปเปอร์ ไฮดรอกไซด์ 77%
    รหัสสินค้า A4996

    8,299.00 - 8,499.00 ฿
    จัดส่งฟรี เงื่อนไข

    โอเบรอน ขนาด 500 ml

    สไปมีซิเฟน
    รหัสสินค้า A106

    1,399.00 - 1,459.00 ฿
    จัดส่งฟรี เงื่อนไข

    โอเบรอน ยกลัง

    สไปมีซิเฟน
    รหัสสินค้า A2942
    ไม่ระบุ

    26,599.00 - 26,999.00 ฿
    จัดส่งฟรี เงื่อนไข