กุหลาบที่ปลูกในประเทศไทยปัจจุบันนี้มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ซึ่งถ้าแบ่งออกโดยสังเขป จะได้ดังนี้ 1. กุหลาบตัดดอกหรือไฮบริดที(Hybrid Tea หรือ HT) ปกติมักออกดอกเป็นดอกเดี่ยว มีขนาดโต กลีบดอกซ่อน พุ่มต้นตั้งตรงสูงประมาณ 1-2เมตร กุหลาบที่มีขายทั่วไป ตามท้องตลาดขณะนี้มักจะเป็นกุหลาบประเภทนี้อย่างไรก็ตาม พันธุ์ไฮบริดทีนั้นมิได้ใช้ปลูกเป็นไม้ตัดดอกได้ดีทุกพันธุ์ดังนั้น จําเป็นต้องคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมสําหรับแต่ละท้องที่ ลักษณะที่เหมาะสมสําหรับจะใช้เป็นพันธุ์สําหรับตัดดอก คือ 1) แข็งแรง ต้นโต เลี้ยงง่ายและเจริญเติบโตได้ดี 2) ออกดอกสมํ่าเสมอไม่โทรมไวเมื่อถูกตัดดอกไปมาก 3) ทนต่อโรคและแมลงได้ดีพอสมควร 4) ลําต้นตั้งตรง ซึ่งจะทําให้ปลูกได้ชิดกันเป็นการประหยัดเนื้อที่ 5) ให้กิ่งก้านยาวตรง มีหนามน้อย ใบงามสมดุลกับกิ่ง 6) ฟอร์มดอกดีทรงดอกยาวแบบแจกันหรือปลายกลีบดอกแหลม 7) กลีบดอกไม้ซ่อนหนาเกินไปจนดอกบานไม่ออก 8) กลีบดอกหนา ทนต่อการบรรจุหีบห่อและขนส่ง 9) ดอกมีสีสะดุดตาและไม่เปลี่ยนสีเมื่อดอกโรย 10)ไม่เหี่ยวเฉาง่ายหลังจากตัดแล้ว 11) ดอกมีกลิ่นหอม (ถ้าเป็นไปได้) - พันธุ์ดอกสีแดง ได้แก่ พันธุ์บราโว. เรดมาสเตอร์พีช, คริสเตียนดิออร์, โอลิมเปียด, นอริค่า,แกรนด์มาสเตอร์พีช, ปาปามิลแลนด์, เวก้า - พันธุ์ดอกสีเหลือง ได้แก่ พันธุ์คิงส์แรนซัม,ซันคิงส์, เฮสมุดสมิดท์, นิวเดย์โอรีโกลด์และเมลิลอน - พันธุ์ดอกสีส้ม ได้แก่ พันธุ์ซันดาวน์เนอร์, แซนดรา, ซุปเปอร์สตาร์หรือทรอพปิคานา - พันธุ์ดอกสีชมพู ได้แก่ พันธุ์มิสออลอเมริกาบิวตี้ หรือมาเรีย,คาสลาส, ไอเฟลทาวเวอร์,สวาทมอร์, เฟรนด์ชิพ, เพอร์ฟูมดีไลท์, จูวังแซล,เฟิร์สท์ไพรซ์, อเควเรียส, ซูซานแฮมเชียร์ - พันธุ์ดอกสีขาว ได้แก่ พันธุ์ไวท์คริสต์มาส เอทีนา - พันธุ์ดอกสีอื่นๆ ได้แก่ พันธุ์แยงกี้ดูเดิ้ล, ดับเบิ้ลดีไลท์, เบลแอนจ์ นอกจากนี้ยังมีกุหลาบสําหรับเด็ดดอกร้อยพวงมาลัย เช่น กุหลาบพันธุ์ฟูซิเลียร์ ซึ่งมีดอกสีส้ม ![]() ![]() ![]() 2. กุหลาบพวง หรือ ฟลอริบันด้า ( Foribunda หรือ F.) กุหลาบพวงมีความแข็งแรงทนทานกว่ากุหลาบตัดดอก ออกดอกดกแต่ดอกไม่ใหญ่เท่ากับกุหลาบตัดดอกแต่มีครบทุกสี และออกดอกเป็นช่อทีละหลาย ๆ ดอก จึงนิยมเรียกว่ากุหลาบพวง และมักบานพร้อมกัน ดอกมีขนาดเล็ก พุ่มต้นตั้งตรงสูง ประมาณครึ่งเมตรถึง 1 เมตร เหมาะสมที่จะปลูกในแปลงประดับและในกระถางเช่น พันธุ์ฟูซีเลียร์, พันธุ์แองเจลเฟส ![]() ![]() 3. ประเภทแกรนดิฟลอร่า (Grandiflora หรือ Gr. ) กุหลาบประเภทนี้เป็นกุหลาบลูกผสมระหว่างกุหลาบตัดดอก และกุหลาบพวง มีลักษณะเป็นดอกเดี่ยว แต่ดอกเล็กกว่ากุหลาบตัดดอก มีก้านยาว ต้นโต สูงและแข็งแรง เช่น พันธุ์คาเมล็อท, พันธุ์คาเสทไนท์พันธุ์เรดมาสเตอร์พืช พันธุ์แกรนด์มาสเตอร์พืช พันธุ์นิวเดย์ พันธุ์มิสออลอเมริกันบิวตี้พันธุ์เพอร์ฟูมดิไลด์ ![]() ![]() ![]() �4. กุหลาบ หรือ มินิเอเจอร์ (Miniature หรือ Min.) เป็นกุหลาบที่มีขนาดพุ่มต้นเล็ก สูง 1- 2 ฟุตออกดอกเป็นพวงและดอกมีขนาดเล็ก นิยมปลูกประดับแปลง และใช้เป็นไม้กระถาง เช่น พันธุ์เบบี้มาสเคอร์เหรด ![]() ![]() ![]() 5. กุหลาบเลื้อย หรือ ไคลมเบอร์ (Climher หรือ Cl.) กุหลาบชนิดนี้ลําต้นสูงตรง นําไปเลื้อยพันกับสิ่งต่าง ๆได้ดอกมีทั้งเป็นดอกขนาดใหญ่และดอกเป็นพวง เช่น พันธุ์ดอนจวน, พันธุ์ค็อกเทล ![]() ![]() 6. ประเภทโพลีแอนท่า (Polyantha หรือ Pol.) เป็นกุหลาบลูกผสมระหว่างพันธุ์โรซ่า มัลติฟอร่ากับ โรซ่า ไชเนนซิสมีขนาดพุ่มต้นเตี้ย แข็งแรงและทนทานมาก ออกดอกเป็นพวงคล้ายกุหลาบพวง ลักษณะดอกและต้นคล้ายกุหลาบหนูแต่จะแตกต่างกับกุหลาบหนูตรงที่กุหลาบโพลีแอนท่าจะมีหูใบที่มีลักษณะของพันธุโรซ่า มัลติฟลอร่า กุหลาบประเภทนี้เช่น พันธุ์วายวอน ราเบีย ![]() ![]() 7. ประเภทแรมเบลอร์ (Rambler หรือ R) มีลําต้นยาวและอ่อนโค้งออกดอกเป็นพวง และดอกมีขนาดเล็ก เช่น พันธ์ไดโรทีเปอร์กิน ![]() ![]() ![]() �8. กุหลาบพุ่ม หรือซรับโรส (Shrub หรือ S.) ได้แก่กุหลาบพันธุ์ป่าหรือลูกผสมของพันธุ์ป่า ซึ่งมีทรงต้นเป็นพุ่ม ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีขนาดเล็กส่วนมากมีกลีบชั้นเดียว เช่น พันธ์โรซ่า นิติด้า, โรซ่ามัลติฟลอร่า, โรซ่า รูโกซ่า
|
�������ในการขยายพันธุ์กุหลาบเราสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การตัดชำ� การติดตา การตอนกิ่ง และการเพาะเมล็ด� บางครั้งเพื่อให้ได้ต้นกุหลาบที่มีรากแข็งแรง และให้ผลผลิตสูงเกษตรกรมักนิยมกุหลาบพันธุ์ดีที่ติดตาบนตอกุหลาบป่า ![]() นิยมติดตาพันธุ์ดีบนต้นตอกุหลาบป่า ได้แก่ Rosa multiflora หรือ R.indical (R. chinensis) ซึ่งมี ความแข็งแรงและทนทาน ก่อนทำการติดตาต้องเตรียมต้นตอและเลือกตาพันธุ์ดีที่จะนำมาติด ควรเลือกต้นกุหลาบป่าที่กำลังเจริญเติบโต เปลือกล่อนจากเนื้อ� ตาที่ใช้ควรเป็นตาจากกิ่งที่ดอกเริ่มเหี่ยวประมาณ ตาที่ 3-4 นับจากตาแรกที่อยู่ใกล้ดอกลงมาหรือเลือกจากกิ่งที่สมบูรณ์เต็มที่� โดยเลือกเอาตาที่นูนเด่นชัด วิธีการที่นิยมทำคือ การติดตาแบบตัวที (T-budding) โดยกรีดต้นตอตามทางยาวประมาณ 3-4 ซม. แล้วตัดขวางชิดกับรอยกรีดด้านบน ใช้มีดเผยอเปลือกตามรอยกรีดด้านบนออกทั้งสองข้าง จากนั้นใช้มีดเฉือนตาจากกิ่งพันธุ์ดีที่เตรียมไว้ให้เท่ากับแผลบนต้นตอ นำแผ่นตาสอดลงไปในแผลบนต้นตอ พันด้วยพลาสติกให้แน่น หลังจากติดตา 7-10 วัน ถ้าแผ่นตายังเป็นสีเขียวแสดงว่าการติดตาได้ผล การขยายพันธุ์ด้วยการติดตานี้ทำให้กุหลาบของเรามีดอกได้หลายสีในต้นเดียวกัน ![]() วัสดุปักชำ ได้แก่ ทรายหยาบผสมกับขี้เถ้าแกลบ ในปริมาณเท่าๆ กัน กิ่งที่จะใช้ปักชำควรเป็นกิ่งที่มีดอกเริ่มแย้ม� หรือกิ่งที่ดอกบานไปแล้วไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ ตัดให้มีความยาว 5-6 นิ้ว มีใบติด 3-5 ใบ ขึ้นไป ตัดแล้วนำไปจุ่มในน้ำก่อนนำไปปักชำ ช่วงเวลาในการตัดกิ่งควรเป็นตอนเช้าหรือตอนเย็น วิธีนี้นิยมใช้ขยายพันธุ์กุหลาบหนู การเพาะเมล็ด� จะต้องให้เมล็ดผ่านอุณหภูมิต่ำชั่วระยะเวลาหนึ่งจึงจะงอก โดยธรรมชาติของกุหลาบจะติดเมล็ดในอากาศหนาวหรือเขตอบอุ่น� เมล็ดจึ่งไม่สามารถงอกได้ทันทีที่อุณหภูมิห้องปกติ เมื่อนำเมล็ดกุหลาบไปเพาะในภาชนะที่ใส่วัสดุเพาะ เช่น ขุยมะพร้าวที่ชื้นคลุมด้วยถุงพลาสติกแล้ว จะต้องนำไปเพาะในตู้เย็นประมาณ 3-4 สัปดาห์ จะมีจำนวนเมล็ดงอกประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ แล้วจึงนำออกมาไว้ข้างนอก เมื่อต้นกล้างอกหมด แล้วจึงย้ายลงกระถางหรือถุงชำ |
การเตรียมดินและหลุมปลูก หลุมสำหรับปลูกกุหลาบควรลึกประมาณ 15-18 นิ้วและกว้างเท่าๆ กัน เพื่อให้โอกาสกับรากให้แผ่กระจายได้เต็มที่เมื่อต้นโตขึ้น ถ้าดินแข็งและระบายนํ้าไม่ดีให้ขุดลึกลงไปอีก 2-3 นิ้ว แล้วใส่อิฐหักหรือกระถางแตก ๆ ลงไปที่ก้นหลุมเพราะกุหลาบไม่ชอบให้นํ้าขังราก ถ้าไม่แน่ใจว่าหลุมนั้นจะระบายน้ำดีให้ลองเอานํ้าใส่หลุมสักครึ่งหลุม ถ้าใน 2 ชั่วโมงต่อมานํ้ายังไม่แห้งไป ต้องใช้วัสดุระบายน้ำช่วย หรือหาที่ปลูกใหม่ ดินที่ขุดออกจากหลุมควรเติมอินทรียวัตถุ เช่นใบไม้ผุ ขี้วัวเก่าๆ หรือปุ๋ยอินทรีย์ การเติมอินทรียวัตถุและทรายหยาบลงในดินเหนียวจะช่วยให้กุหลาบเติบโตได้ดีและให้ดอกดกขึ้น ดินก้นหลุมนั้นควรเติมปุ๋ยกระดูกเพื่อให้ธาตุฟอสฟอรัสอย่างช้าๆ ไปตลอด 1-2 ปี โดยใส่กระดูกป่นประมาณ 3 กระป๋องนมข้น ปุ๋ยคอก 2 กระป๋องนม ถ้าหาปุ๋ยคอกไม่ได้ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 6-10-4 หรือ 5-10-6 ครึ่งกระป๋องนมแล้วคลุกกับดินให้ทั่ว พอขุดหลุมแล้วเอาน้ำใส่ในหลุมเพื่อให้น้ำซึมในดินจนแน่ใจว่าดินดูดซับความชื้นไว้พอเพียง โดยเฉพาะการปลูกปลายฤดูร้อน หรือต้นฤดูฝน สำหรับกุหลาบล้างราก (bare root roses) ให้ตัดปลายกิ่งออกให้เหลือกิ่งยาวเพียง 2-3 ตา จะเร่งให้ได้ต้นใหม่ที่แข็งแรง มีรากงามและเติบโตได้ดี เมื่อจะปลูกให้เอาดินที่ผสมไว้ใส่ก้นหลุมราว 2/3 แล้วพูนขึ้นเป็นเนิน เอารากแผ่ไปบนดินที่พูนไว้ใช้ด้ามจอบพาดปากหลุมวางต้นลง กะให้รอยติดตาอยู่เหนือระดับไม้ที่พาดปากหลุมเล็กน้อย จะได้กิ่งกระโดงแตกออกจากบริเวณรอยติดตา กลบดินรอบต้นให้แน่นแล้วรดน้ำให้ชุ่มอีกครั้ง ระยะปลูกของกุหลาบ Hybrid tea คือ 18-24 นิ้ว กุหลาบเลื้อยใช้ 8-16 ฟุต กุหลาบหนูใช้ 6-12 นิ้ว |
การให้น้ำกุหลาบในแปลง |
การคลุมดิน |
การให้ปุ๋ย |
การตัดแต่งกิ่ง |
�������ขนาดกระถางที่ใช้ปลูกกุหลาบ มีตั้งแต่ 6, 8, 19 และ 12 นิ้ว ขนาดของกระถางมีความสัมพันธ์กับขนาดของต้นด้วย คือถ้าขนาดของต้นยังเล็กแล้วนำไปปลูกในกระถางใหญ่ ต้นอาจตายได้ เพราะเครื่องปลูกแฉะเกินไป (เนื่องจากให้น้ำชุ่มเครื่องปลูกแต่ต้นยังเล็ก รากดูดน้ำไปใช้แล้วยังมีเหลือเฟือ ถ้าปลูกต้นเล็กควรใช้กระถาง 6 นิ้ว แล้วเปลี่ยนเป็น 8, 10 และ 12 นิ้ว ตามลำดับ จะเจริญได้งอกงามดีกว่า เมื่อปลูกลงกระถางแล้ว ควรวางในที่อับลม มิฉะนั้น จะระเหยนํ้าทางใบมาก และต้นจะโยกคลอนได้ง่ายด้วย การให้น้ำ ควรแน่ใจว่าน้ำซึมชุ่มบริเวณโคนต้นจนลงไปถึงก้นกระถางทุกครั้ง ให้น้ำวันละครั้งเป็นอย่างน้อย การดูแลรักษา เหมือนกับกุหลาบปลูกในแปลง รวมทั้งการให้ปุ๋ยด้วย การเปลี่ยนกระถาง ปกติจะเลี้ยงในกระถาง 6 นิ้วก่อน แล้วสังเกตการเจริญเติบโตของต้น ถ้าต้นโตเกินกระถางขณะนั้นรากจะแตะขอบกระถางทำให้ร้อน รากจะแห้งไม่สามารถหาอาหารได้ ควรเปลี่ยนไปปลูกในกระถางใหญ่ขึ้น |
�������กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกชนิดหนึ่งที่มีศัตรูมากพืชหนึ่ง ดังนั้นการป้องกันและกำจัดศัตรูกุหลาบให้มีประสิทธิภาพ ผู้ปลูกควรทราบลักษณะสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และวงจรชีวิตของศัตรูนั้น ๆ รวมทั้งการป้องกันกำจัด และการใช้สารเคมีให้มีประสิทธิภาพเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายแก่ตัวเองและผู้อื่น และควรฝึกเจ้าหน้าที่ให้หมั่นตรวจแปลง และสังเกตต้นกุหลาบทุกวันจะช่วยให้พบโรคหรือแมลงในระยะเริ่มแรก ทำให้สามารถกำจัดได้ง่าย ในการฉีดพ่นสารเคมีควรใช้สารเคมีชนิดเดียวกันติดต่อกันอย่างน้อย 2-3 ครั้งเพื่อให้สารนั้น ๆ แสดงประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ จากนั้นนั้นควรสับเปลี่ยนกลุ่มของสารเคมีเพื่อลดการดื้อยา โรคราสีเทา (botrytis: Botryotinia fuckeliana syn. Botrytis cinerea) มักพบในสภาพอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสัมพัทธ์สูง และการระบายอากาศไม่ดีพอ ดอกตูมจะเป็นจุดสีน้ำตาล และลามขยายใหญ่และเน่าแห้ง การป้องกันกำจัด เพื่อไม่ให้ดอกกุหลาบถูกฝนควรปลูกกุหลาบในโรงเรือนพลาสติก การป้องกันควรฉีดพ่นสารเคมีด้านข้างและด้านบนดอกด้วย คอปเปอร์ ไฮดร๊อกไซด์ แมนโคเซ็บ หรือ คอปเปอร์ อ๊อกซี่คลอไรด์ โรคกิ่งแห้งตาย (die back) เกิดจากตัดกิ่งเหนือตามากเกินไปทำให้เชื้อราเข้าทำลายกิ่งเหนือตาจนเป็นสีดำ และอาจลามลงมาทั้งกิ่งได้ ดังนั้นจึงควรตัดกิ่งเหนือตาประมาณ 1/4 นิ้ว ทำมุม 45 องศาเฉียงลง
![]() |
�������1. หนอนเจาะดอก เป็นหนอนผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กซึ่งจะวางไข่อยู่ที่กลีบดอกด้านนอก เมื่อไข่ฟักออกเป็นตัวจะกัดกินดอกและอาศัยอยู่ในดอก ระบาดมากช่วงที่กุหลาบให้ดอกดก หรือในช่วงฤดูหนาว ควรป้องกันโดยใช้สารเคมีประเภทดูดซึม เช่น ดิลดริน ฟอสดริน
|