โรคแคงเกอร์นับว่าเป็ นโรคที่อันตรายร้ายแรงอย่างยิ่งแก่พืชตระกูลส้ม สามารถพบการระบาดในหลายประเทศซึ่งประเทศไทยพบว่ามีการระบาดของโรคนี้อย่างกว้างขวาง หากมีการส่งออกผลผลิตไปจำหน่ายต่างประเทศจึงควรให้ความสนใจในการป้องกันกำจัด เพราะในหลายประเทศมีกฎและระเบียบการนำเข้าเพื่อป้องกันการระบาดของโรคแคงเกอร์อย่างเคร่งครัด เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis pv. citri เชื้อสาเหตุโรคแคงเกอร์ สามารถเข้าทำลายและก่อให้เกิดโรคกับพืชตระกูลส้ม เช่น มะนาว มะกรูด ส้มโอ ส้มเขียวหวาน เป็นต้น โดยเฉพาะมะนาวจัดเป็นพืชตระกูลส้มที่อ่อนแอและง่ายต่อการเกิดและติดโรคมากที่สุด พบได้ทุกแห่งที่มีการปลูกมะนาว เดิมชาวบ้านเรียกโรคนี้ว่าโรคขี้กลาก โรคแคงเกอร์สามารถเข้าทำลายพืชได้เกือบทุกส่วนของต้น ทั้งกิ่ง ก้าน ใบ ลำต้น รวมทั้งผล
อาการของโรคแคงเกอร์
�������เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv. citri (Hasse) Dye สามารถเข้าทำลายบริเวณส่วนเหนือดินของพืชตระกูลส้ม ทำลายได้ทุกส่วนทั้งที่พืชอายุยังน้อยหรือปลูกมาหลายปี ทั้งใบ กิ่ง ก้าน ลำต้น ผล โดยส่วนของใบและกิ่งอ่อนที่ถูกเชื้อจะแสดงอาการภายใน10-12วันหลังจากเริ่มแตกยอดอ่อน ใบแก่จะมีความต้านทานโรคมากกว่าใบอ่อนเนื่องจากมีปากใบที่เปิดแคบมีคิวติเคิลปกคลุมทำให้ปากใบหนาเชื้อจึงเข้าทำลายได้ยากตรงข้ามกับใบอ่อน ปากใบเปิดกว้าง เชื้อจึงเข้าทำลายได้ง่ายเมื่อเชื้อเข้าทำลายรุนแรงมีผลให้ต้นส้มทรุดโทรม ใบร่วง ผลผลิตตกต่ำ ไม่มีคุณภาพ ผิวไม่สวย ที่สำคัญผลผลิตขายไม่ได้ราคา
ลักษณะอาการบนใบ
�������ลักษณะอาการที่เป็นกับใบส้มตามธรรมชาติเริ่มแรกจะเป็นจุดเล็กๆ ขนาดเท่าหัวเข็มหมุด (2-10 มิลลิเมตร) มีสีซีดกว่าสีของใบเล็กน้อย ไม่อาจมองเห็นได้ชัดด้วยตาเปล่า ต่อมาจะขยายใหญ่ขึ้น ลักษณะนูนและฟูคล้ายฟองน้ำ จะพบที่ด้านใต้ใบก่อน ต่อมาจึงนูนทั้ง 2 ด้าน ถ้าอากาศมีอุณหภูมิสูงและความชื้นมากพอ แผลที่ฟูอยู่แล้วจะเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ต่อมาเมื่อแผลมีอายุแก่มากขึ้น แผลจะเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลถึงน้ำตาลเข้ม ลักษณะที่นูนฟูคล้ายฟองนํ้าจะยุบตัวเป็นสะเก็ดขรุขระและแข็ง ลักษณะของแผลที่เกิดมักจะมีสีเหลืองเป็นมันล้อมแผลโดยรอบ ส่วนมากขนาดของแผลมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 มม. และมีขนาดไม่เกิน 4 มม. แต่แผลที่เกิดกับใบส้มโออาจมีขนาดใหญ่ถึง 8 มม.
�����
ลักษณะอาการบนกิ่งและก้าน
�������
มักจะเกิดกับกิ่งอ่อนของส้มที่มีความอ่อนแอต่อโรค เช่น มะนาว แผลที่เกิดใหม่ๆ อาจจะเห็นเป็นสีเหลืองอ่อนนูนฟูคล้ายกับแผลที่ใบ ต่อมาแผลจะแห้งแข็งเป็นสีนํ้าตาลเข้มขยายออกรอบกิ่ง หรือขยายเป็นทางตามความยาวของกิ่ง รูปร่างของแผลไม่แน่นอน มีขนาดใหญ่กว่าและสีนํ้าตาลเข้มกว่าที่ใบ แต่ไม่มีขอบสีเหลืองโดยรอบแผล
�����
ลักษณะอาการบนผล
�������
มีลักษณะคล้ายกับที่ปรากฏบนใบ หากแผลเกิดเดี่ยวกระจายกันก็มีลักษณะกลม หากเกิดติดต่อกันเป็นจำนวนมากแผลอาจมีรูปร่างไม่แน่นอน บริเวณรอบแผลดูคล้ายกับฝังลึกลงในผิวของผล ที่ตัวแผลก็จะนูนและปรุโปร่งคล้ายฟองนํ้า แต่แข็งมีสีเหลือง และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เมื่อแผลแก่ขยายเข้าบริเวณผิวของผลที่ยังดี ส่วนที่ติดกับแผลจะเป็นวงรีเหลืองโดยรอบเช่นเดียวกับบนใบ
ลักษณะอาการที่ราก
�������มีรายงานว่าเกิดได้กับรากที่อยู่เหนือดิน และปกติจะไม่ปรากฏขึ้นตามธรรมชาติ แต่ถ้านำเชื้อไปทดลองปลูกที่ราก ก็สามารถทำให้เกิดอาการของโรคนี้ได้
ลักษณะอาการของโรคร่วมกับหนอนชอนใบ
�������การเข้าทำลายของหนอนชอบใบส้ม เปิดช่องทางให้เชื้อแบคทีเรียสาเหตุของโรคแคงเกอร์ เข้าทำลายทำให้เพิ่มจำนวนแผลเป็นสาเหตุให้โรคแคงเกอร์ลุกลามอย่างรวดเร็ว แผลที่เกิดขึ้นมีลักษณะตามรอยทางเดินในการกินอาหารของหนอนชอนใบ หนอนจะกินอาหารจากชั้นผิว epidermis ของใบส้ม มะนาว ซึ่งต่ำกว่าชั้น cuticle ทำให้เกิดรอยแตกจำนวนมากของใบตามรอยกัดของหนอนชอนใบทำให้เชื้อแบคทีเรียสาเหตุของ โรคแคงเกอร์ เข้าทำลายโดยตรงผ่านชั้น cuticle เข้าไปในชั้นใน
การแพร่ระบาด
�������เชื้อแบคทีเรียกระเซ็นทางน้ำ และลมฝนจากเนื้อเยื่อที่เป็นโรคไปยังส่วนอื่นของลำต้น สภาพที่มีฝนตกชุกทำให้โรคระบาดมาก วิธีการให้น้ำโดยการฉีดเข้าทางทรงพุ่มก็จะแพร่โรคให้ระบาดมาก แหล่งแพร่ระบาดคือ ส่วนของต้นที่เป็นโรคที่ตกค้างภายในสวนและกิ่งพันธุ์ที่เป็นโรค การระบาดของหนอนชอนใบจะช่วยแพร่โรคบนใบด้วย
วิธีการป้องกันและรักษาโรคแคงเกอร์
�������
1.ตัดแต่งทรงพุ่มของต้นมะนาวให้โปร่ง อย่าให้มีกิ่งแขนงเล็กๆบดบังแสงแดดที่ส่องมายังต้นมะนาว รวมถึงบริเวณโคนต้นด้วย โดยทั่วไปแล้วแบคทีเรียทั้งหลายจะถูกทำลายโดยแสงยูวีหรือความร้อนนั้นเอง
�������
2.ให้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม ในการที่เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีหรือสารเร่งโตมากเกินความจำเป็นจะทำให้มะนาวโตและยืดโครงสร้างของเซลล์มากเกินไป เป็นสาเหตุของการสะสมเชื้อราและแบคทีเรียทั้งหลาย
�������
3.ทำการฉีดพ่นยาฆ่าแมลง ชื่อ สามัญ:อะบาแม็กติน เพื่อกำจัดหนอนชอนใบ และไข่หนอนผีเสื้อกลางคืนทุกๆ4-7วัน ในอัตราส่วนที่กำกับตามสลากยาไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เกินปริมาณที่กำหนดแมลงอาจดื้อยาได้ในอนาคตกรณีเป็นแมลงปากกัดเช่นแมลงค่อมหรือเพลี๊ยและแมลงปากดูด ให้ใช้ยาชื่อสามัญ ไธอะมีโทแซม (thiamethoxam)โดยควรเปลี่ยนยาทุกๆ2เดือนสลับกันไปเพื่อป้องกันการดื้อยาของแมลง
�������
4.หลีกเลี่ยงการรดน้ำมะนาวในช่วงเวลาเย็นตั้งแต่ 17.00น.เป็นต้นไป เพราะเชื้อราและแบคทีเรียจะเติบโตได้ดีในที่มีอากาศเย็นความชื้นสัมผัสสูงนั้นเอง ไม่ควรใช้สปริงเกอร์แบบกระจายไปทั่วสวนแต่ควรกำหนดเฉพาะจุดโคนต้นมะนาวเท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงความชื้นในใบและกิ่งของมะนาว
�������
5.ปลูกต้นไม้หรือสร้างแนวยังลมเพื่อลดความเร็วลมในการพัดพาเชื้อสาเหตุของโรคแคงเกอร์หลีกเลี่ยงการทำงานในสวนที่มีหยดหรือละอองน้ำติดอยู่ที่ใบพืช
�������
6.ใช้สารชีวภัณฑ์กำจัดโรคพืชไบออนแบค(BionBac)ในระยะออกดอกจนถึงระยะที่ติดผล ในอัตรา 25-40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นทุกๆ 7-10 วัน จนกระทั่งห่อผล ใช้สารในอัตราสูงในระยะเริ่มต้น หากควบคุมอาการของโรคได้ หรือไม่ปรากฎอาการนของโรคให้ลดอัตราการใช้และจำนวนครั้งลงเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย หากอาการของโรครุนแรงให้ใช้ไบออนแบค(BionBac)สลับกับยาปฏิชีวนะ เมื่อใกล้ระยะห่อผลให้ใช้ไบออนแบคเพียงอย่างเดียวเพื่อลดอันตรายจากพิษตกค้าง (หลีกเลี่ยงการใช้ในช่วงระยะการเจริญเติบโต และในขณะเดียวกันต้องมีการควบคุมหนอนชอนใบ) หรือใช้นอร์ด็อก ซุปเปอร์ 75 ดับเบิลยูจี(คิวปรัสออกไซด์) อัตรา 10-15 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เริ่มพ่นเมื่อพบการระบาดของโรค และพ่นซ้ำทุก 7 วัน