โรคราแป้ง Powdery mildew
เป็นโรคที่สำคัญพบได้ทั่วไป รากลุ่มนี้สามารถพัฒนาและก่อให้เกิดโรคได้ดีในสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง (
arid หรือ
semi arid) ราแป้งขาวจัดอยู่ในวงศ์
Erysiphaceae ทุก species เป็น
obligate parasite เส้นใยจะเจริญอยู่บนผิวพืช และยึดติดอยู่บนพืชด้วย
haustoium ซึ่งเจริญผ่านเข้าไปใน
epidermal cell ของพืชเพื่อดูดเอาธาตุอาหารต่างๆ haustoium อาจมีลักษณะโครงสร้างโป่งพองขึ้นอย่างง่าย ๆ หรือมีการแตกแขนงมากมายการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เส้นใยสีขาวจะสร้าง
conidiophore ลักษณะยาว ตั้งตรง ใส จากนั้นจะสร้าง
conidia ต่อกันเป็นลูกโซ่
conidia ใส เซลล์เดียว รูปร่างแบบรูปไข่ (
oval) หรือรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีมุมผนังบาง อาจเรียก
conidia ของราแป้งขาวว่า
oidium
ตัวอย่างโรคราแป้งในพืชผัก ผลไม้ต่างๆ
|
 |
 |
 |
 |
ราแป้งในเงาะ |
ราแป้งในสตรอเบอรี่ |
ราแป้งในเชอรี่ |
ราแป้งในองุ่น |
 |
 |
 |
 |
ราแป้งในลูกพีช |
ราแป้งในกุหลาบ |
ราแป้งในบานชื่น |
ราแป้งในฟักทอง |
 |
 |
 |
 |
ราแป้งในถั่วฝักยาว |
ราแป้งในมะเขือเทศ |
ราแป้งในเมล่อน |
ราแป้งในหม่อน |
ราแป้งในมะม่วง
ลักษณะอาการ
สาเหตุ เกิดจากเชื่อรา Oidium mangiferae Berth เชื้อโรคจะเข้าทำลายช่อดอก ผลอ่อน และใบ ในช่อดอกจะทำให้ช่อดอกแห้ง และร่วงไม่ติดผล เชื้อราจะสร้างเส้นใย และสปอร์ มีลักษณะเป็นผงสีขาวคลุมกานช่อดอกที่ดอกร่วงไปแล้ว กานดอกที่มีเชื้อราปกคลุมจะอยู่ได้นาน และร่วงช้า ในกรณีที่ติดผลแล้ว เชื้อราแป้งจะลุกลามจากก้านช่อเข้าสู่ผล ทำให้ผลอ่อนชะงักการเจริญเติบโต และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลมีราขาวคลุม ในใบอ่อน ด้านใต้ใบจะมีเชื้อราจับหนาแน่นและคลุมทั่วทั้งใบ และยอดอ่อน ราแป้งทำให้ใบบิดงอใบเปลี่ยนเป็นปื้นสีน้ำตาลคล้ายอาการใบไหม้ หากระบาดรุนแรงเชื้อราจะคลุมทั้งยอดทำให้ยอดมีสีขาวโพลน และยอดจะแห้งตายเมื่อพบสภาพขาดน้ำและอากาศร้อน
การแพร่ระบาด
เชื้อราแป้งสามารถพักตัวที่ตาใบ และตาดอกมะม่วง และเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมจะเจริญและสร้างสปอร์ได้รวดเร็ว สปอร์ของเชื้อราจะแพร่ระบาดโดยทางลม โดยเฉพาะในสภาพอากาศแห้ง และเย็น

การป้องกันและกำจัด
1. หมั่นสำรวจแปลงมะม่วงอยู่เสมอ หากพบโรคในปริมาณน้อยให้ตัดเผาทำลาย
�������
2. ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ฉีดพ่นในอัตรา เชื้อสด 1 กก.ต่อน้ า 200 ลิตร พ่นในเวลาเย็น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน
�������
3. เชื้อแบคทีเรีย บาซีรัส ซับทีรีส ฉีดพ่นเวลาเย็น ในอัตราตามฉลาก
�������
4. ฉิดพ่นด้วยก ามะถันผงละลายน้ า ในอัตราตามฉลาก
�������
5. ใช้สารเคมีป้องกันและก าจัดเชื้อรา เช่น ไตรอาดิมิฟอน คาร์เบนดาซิม แมนโคเซบ ไดฟีโนโคนาโซล หรือ บาซิลัส ซับทิลิส ฉีดพ่น ในอัตราตามฉลาก
 |
ราแป้งในเงาะ
ลักษณะอาการ
เกิดจากเชื้อรา Oidium nepheli Kunzโรคนี้จะระบาดรุนแรงมากในช่วงก่อนดอกบาน และติดผลอ่อน จะมีเชื้อราขาวจับคลุมดอก กลีบดอกและรังไข่ ทําให้ชะงักการเจริญเติบโต ดอกแห้งฝ่อ ผลอ่อนที่มีเชื้อราสีขาวเจริญปกคลมจะแห้งดํา เชื้อราแป้งอาจฟักตัวแสดงอาการระยะพัฒนาขนาดต่างๆ ของผลเงาะ ขนเงาะมีราขาวคลุมที่ขนอ่อน เพียงบางส่วนของผล หรือทั่วผล อาจทําให้ผลออนแห้งดํา หลุดร่วงไป หรืออาจจะพักตัวหรือแสดงอาการตลอดระยะพัฒนาของผลได้โดยขนเงาะที่มีราขาวปกคลุมจะแห้งดําและคอดขาดเหลือเฉพาะโคนขนสั้น ชาวสวนเรียกว่า เงาะนิโกร ถ้าเข้าทําลายในระยะผลโตจะเปลี่ยนสีช้าเมือสุก ผลเงาะที่เก็บเกี่ยวจะมีสีเหลือง ขนเกรียนสั้น หรืออาจจะทําให้สีซีดลงไม่เข้มเท่าผลปกติ ทําให้ราคาตก ตลาดไม่ต้องการ ในภาคใต้ยังพบเป็นกับใบอ่อนเงาะในพุ่ม หรือยอดที่เจริญบริเวณกิ่งล่างๆในทรงพุ่มของต้นพบใบอ่อนจะมีราขาวปกคลุม
การแพร่ระบาด
�������
เกิดขึ้นในสภาพอากาศที่เย็นมีความชื้นเพียงพอเมื่อดอกบานและสภาพแวดล้อมเหมาะสมกจะเข้ทําลายอย่างรวดเร็ว เชื้อราจะขึ้นปกคลุมผิวของพืช และสร้างอวัยวะด้วยรากแทงเข้าไปในพืช เพื่อดูดกินน้ำเลี้ยง
การป้องกันและกําจัด
�������
เกษตรกรควรหมั่นสํารวจแปลงเงาะในระยะแตกใบอ่อน ออกดอก และติดผลอ่อน - แก่โดยเฉพาะในแหล่งที่เคยมีการระบาดเป็นประจํา เมื่อพบราแป้งให้ควบคุมโดย
�������
1. ในช่วงแตกใบอ่อน และเริ่มติดผลหากพบโรคราแป้งระบาด ควรฉีดพ่ นสารกํามะถันผงละลายน้ำ 40 กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร เป็นการกําจัดปริมาณเชื้อโรค ทําให้การระบาดในช่วงติดผลนั้นลดความรุนแรงลงได้แต่การฉีดพ่นด้วยกํามะถันผงอัตราที่สูงในสภาพที่มีอากาศร้อนอาจทําให้ผิวผลไหม้ไดและผลสุกจะมีสีไม่สม่ำเสมอ
�������
2. เก็บผลเงาะที่เป็นโรคใบแห้ง กิ่งที่ร่วงหล่น มาเผาทําลาย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
�������
3. ควรควบคุมด้วยสารคาร์เบนดาร์ซิม (เดอร์โรซาน) ,ไดโนแคป (คาร์ราเทน), ไพราโซฟอส (อาฟูกาน) อย่างใดอย่างหนึ่ง ควรฉีดพ่น 10 วัน/ครั้ง และควรงดการใช้สารฆ่าแมลงทุกชนิดช่วงเงาะดอกบาน หรืออาจจะใช้บาซิลัส ทับซิลิส (ไบออนแบค)ฉีดพ่นใช้อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เริ่มพ่นเมื่อพบการระบาดของโรค และพ่นซ้ำทุก 7 วัน ควรพ่นในเวลาเช้าตรู่หรือเวลาเย็น เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิต แสงแดดจะทำให้เชื้อลดประสิทธิภาพลง |
 |
ราแป้งในมะเขือเทศ
ลักษณะอาการ����
สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อรา Oidiopsis sp. อาการที่มองเห็นด้านบนใบจะปรากฏเป็นจุดสีเหลือง จุดเหลืองนี้จะขยายออกและจำนวนจุดบนใบจะมีมากขึ้น เมื่อโรคระบาดรุนแรงขึ้น จนบางครั้งมองเห็นเป็นปื้นสีเหลืองด้านบนใบ ตรงกลางปื้นเหลืองนี้อาจจะมีสีน้ำตาล ต่อมาใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทางด้านใต้ใบ ตรงบริเวณที่แสดงอาการปื้นเหลือง จะมีผงละเอียดคล้ายผงแป้งเกาะอยู่บาง ๆ มองเห็นได้ไม่ชัดเจนนัก เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นใบจะเหลือง จากส่วนล่างของต้นไปยังส่วนบนและใบที่เหลืองนี้จะร่วงหลุดไป ในสภาพอากาศเย็นบางครั้งจะพบผงสีขาวเกิดขึ้นบนใบได้ และลุกลามไปเกิดที่กิ่งได้
การแพร่ระบาด
�������
โรคนี้มักพบในระยะเก็บผลผลิต ทำให้ต้นโทรมเร็วกว่าปกติ
การป้องกันกำจัด
1.ลดความชื้นบริเวณโคนต้นหรือในทรงพุ่ม โดยการตัดแต่งกิ่ง
�������
2.กำจัดวัชพืชที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อสาเหตุ เช่น น้ำนมราชสีห์ และหญ้ายาง
3.เมื่อพบโรค ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชบางชนิด เช่น กำมะถันผง ไดโนแคป หรือ บาซิลัส ทับซิลิส (ไบออนแบค) ใช้อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เริ่มพ่นเมื่อพบการระบาดของโรค และพ่นซ้ำทุก 7 วัน ควรพ่นในเวลาเช้าตรู่หรือเวลาเย็น เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิต แสงแดดจะทำให้เชื้อลดประสิทธิภาพลง |
 |
ราแป้งในองุ่น
ลักษณะอาการ
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Oidium tuckeri เป็นโรคที่ระบาดรุนแรงอีกโรคหนึ่งหรือเรียกว่า โรคขี้เถ้า มักระบาดมากในช่วงอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง คือ หลังฤดูฝน และในฤดูหนาว เท่านั้น จะเข้าทำลายทุกส่วนของต้นองุ่นที่เห็นได้ชัดคือด้านบนของใบจะเห็นเป็นหย่อมๆ หรือทั่วไปบนใบ ต่อมาผงสีขาวจะเปลี่ยนเป็นสีเทาและดำ บริเวณใบที่ถูกเชื้อราเข้าทำลายจะมีสีเหลืองอ่อนในระยะแรก ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือดำ ถ้าเป็นโรคมากๆ ใบจะมีอาการม้วนงอได้ ถ้าเชื้อราทำลายในขณะที่ยังเป็นดอกจะเหี่ยวแห้งติดกับกิ่ง ทั้งผลอ่อนจนถึงผลแก่ จะเห็นผลขาวบนผลต่อมาเนื้อผิวของผลที่ถูกทำลายจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลบางครั้งผลจะแตกจนเห็นเมล็ด อาการที่กิ่งอ่อน จะทำให้กิ่งแห้งตายไปหรือแคระแกร็นไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร
การแพร่ระบาด
เชื้อราพักตัวที่บริเวณตาองุ่นในสภาพเส้นใย จะเจริญและสร้างสปอร์บนยอดที่แตกใหม่ แล้วแพร่ระบาดทำลายส่วนอื่นๆ ทางลมในสภาพอากาศที่แห้งแล้งและเย็น มีแสงแดดน้อย เชื้อราจะอยู่ข้ามฤดูหนาวในสภาพ ascospore พักตัวในcleistothecium เมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิก็จะแพร่ระบาดเข้าทำลายองุ่นที่อุณหภูมิประมาณ 20- 27 องศาเซลเซียส หากมีฝนตกมากการระบาดของโรคก็จะลดลง ด้วยการสร้างสปอร์ที่เป็นระยะคอดิเนียมเป็นจำนวนมากเข้าทำลายทุกส่วนของพืชที่มีสีเขียว
การป้องกันกำจัด
1. ตัดกิ่ง ใบหรือผลที่เป็นโรคเผาทำลายเพื่อมิให้เชื้อโรคแพร่ขยายไปยังส่วนอื่น
2. ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัด เช่น บีโนมิล อัตรา 5-15 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ แคปแทน 48 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือใช้ บาซิลัส ทับซิลิส (ไบออนแบค)ใช้อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เริ่มพ่นเมื่อพบการระบาดของโรค และพ่นซ้ำทุก 7 วัน ควรพ่นในเวลาเช้าตรู่หรือเวลาเย็น เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิต แสงแดดจะทำให้เชื้อลดประสิทธิภาพลง |
 |
โรคราแป้งในแตงกวา
เชื้อสาเหตุ : Oidium sp.
ลักษณะอาการ
มักเกิดใบล่างก่อนในระยะที่ผลโตแล้ว บนใบจะพบราสีขาวคล้ายผงแป้งคลุมอยู่เป็นหย่อม ๆ กระจายทั่วไป เมื่อรุนแรงจะคลุมเต็มผิวใบทำให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วแห้งตาย มักพบการระบาดในสภาพที่มีอุณหภูมิต่ำและความชื้นสัมพัทธ์ภายในอากาศต่ำ
การป้องกันกำจัด
ควรป้องกันก่อนการระบาด ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราในกลุ่มของ ไดโนแคป ในอัตรา 30 กรัม / น้ำ 20 ลิตรเมื่อพบอาการเริ่มแรก หลังจากนั้นฉีดพ่นทุกๆ 10 วัน หรือฉีดพ่นด้วยสารละลายกำมะถัน ในอัตรา 30 กรัม / น้ำ 20 ลิตร แต่ต้องพ่นในเวลาเย็นหรืออากาศไม่ร้อน เป็นต้น หรือเมื่อว่ามีการระบาดควรฉีดพ่นด้วย เบนเลท เดอโรซาล Diametan Sumilex, ไดฟีโนโคนาโซล หรือ บาซิลัส ซับทิลิส
|