ลูกใต้ใบจัดเป็นพืชชนิดหนึ่งที่สร้างความเสียหายให้แก่พืชไร่และพืชสวน อาทิเช่น ไร่ข้าวโพด ไร่สับปะรด ไร่กาแฟ และพื้นที่รกร้างต่างๆ มีขี้นกระจายอยู่ทั่วไป
�ลูกใต้ใบ ชื่อสามัญ Egg Woman, Tamalaki, Hazardana, Stonebreaker, Seed-under-leaf
ลูกใต้ใบ ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus amarus Schumach. & Thonn.
สมุนไพรลูกใต้ใบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ต้นใต้ใบ, หญ้าลูกใต้ใบ, หมากไข่หลัง (เลย), หญ้าใต้ใบ (อ่างทอง, นครสวรรค์, ชุมพร), ไฟเดือนห้า (ชลบุรี), หญ้าใต้ใบขาว (สุราษฏร์ธานี), หน่วยใต้ใบ (คนเมือง), มะขามป้อมดิน (ภาคเหนือ), จูเกี๋ยเช่า (จีน) เป็นต้น จัดอยู่ในวงศ์มะขามป้อม (PHYLLANTHACEAE)
ลักษณะของลูกใต้ใบ |
|
![]() |
�������ต้นลูกใต้ใบ จัดเป็นพืชล้มลุก มีอายุเพียงปีเดียว มีความสูงประมาณ 10-60 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นไม่มีขน และทุกส่วนของต้นมีรสขม มีถิ่นกำเนิดในอเมริกา แอฟริกา และเอเชีย และมีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อน เช่น ไทย ลาว พม่า กัมพูชา เปรู บราซิล สหรัฐอเมริกา หมู่เกาะคาริบเบียน และในทวีฟแอฟริกา |
![]() |
�������ใบลูกใต้ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคี่ มีใบย่อยประมาณ 23-25 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ โคนใบมนแคบ ส่วนปลายใบมนกว้าง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-10 มิลลิเมตร มีก้านใบสั้นมาก และมีหูใบสีขาวนวล ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมเกาะติดอยู่ 2 อัน |
![]() |
�������ดอกลูกใต้ใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.08 เซติเมตร ดอกเพศเมียมักจะอยู่บริเวณโคนก้านใบ ส่วนดอกเพศผู้มักจะอยู่บริเวณส่วนปลายของก้านใบ โดยดอกตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าดอกตัวผู้ประมาณ 2 เท่า เกสรตัวผู้มี 3 อัน โคนก้านเกสรเชื่อมกันเล็กน้อย มีอับเรณูแตกอยู่ตามแนวราบ ส่วนกลีบรองและกลีบดอกเป็นรูปไข่ ขอบกลีบมีสีอ่อน |
![]() |
�������ผลลูกใต้ใบ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมแป้น ผิวเรียบมีสีเขียวอ่อนนวล ผลมีขนาดประมาณ 0.15 เซนติเมตร โดยผลมักจะเกาะติดอยู่บริเวณใต้โคนของใบย่อย และอยู่ในบริเวณกลางก้านใบ ผลเมื่อแก่จะแตกเป็นพู 6 พู ในแต่ละพูจะมีเมล็ด 1 เมล็ด ลักษณะของเมล็ด เมล็ดสีน้ำตาล มีลักษณะเป็นรูปเสี้ยว 1 ส่วน 6 ของรูปทรงกลม มีสันตามยาวทางด้านหลัง และมีขนาดเล็กมาประมาณ 0.1 เซนติเมตร |
ชนิดของลูกใต้ใบ
ชนิดของลูกใต้ใบที่สามารถพบโดยทั่วไปจะมีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด ได้แก่ Phyllanthus amarus Schumach. & Thonn., Phyllanthus debilis Klein ex Willd., Phyllanthus urinaria L. (หญ้าใต้ใบ), และชนิด Phyllanthus virgatus G.Forst. และต่อมาในภายหลังได้มีการค้นพบลูกใต้ใบในประเทศไทยเพิ่มเติมอีก 3 ชนิด ซึ่งได้แก่
1. ลูกใต้ใบดอกขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus sp.1 วงศ์ ลูกใต้ใบ (Phyllanthaceae) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุกฤดูเดียว ใบเดี่ยวเรียงสลับ คล้ายใบประกอบ ดอกเพศผู้มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ดอกเพศเมียมีกลีบเลี้ยง 6 กลีบ ผลมีก้านยาว ลักษณะเด่น กลีบเลี้ยงสีขาว ก้านยาว
2.ลูกใต้ใบตีนชี้ ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus sp.2 วงศ์ ลูกใต้ใบ (Phyllanthaceae) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุกฤดูเดียว ใบเดี่ยวเรียงสลับ คล้ายใบประกอบ ขอบกลีบดอกเพศผู้มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบดอกเพศเมียมีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ขอบกลีบจัก ผลเรียบ
3.ลูกใต้ใบหัวหมด ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus sp.3 วงศ์ ลูกใต้ใบ (Phyllanthaceae)ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุกฤดูเดี่ยว ใบเดี่ยวเรียงสลับ คล้ายใบประกอบ ดอกมีกลีบรวม 6 กลีบ ผลมีขนกระจายห่างๆ
การป้องกันกำจัด
1. วิธีการถาก ถาง หรือกำจัดโดยแรงงานคน
2. ใช้ยาฆ่าหญ้าหรือสารเคมีต่าง ๆ เช่น ไดพิม 50 เอสซี (อาทราซีน), ไดพิม 90 (อะทราซีน) หรือ เอธายูรอน 80 ดับบลิวจี (ไดยูรอน) ตามที่แนะแนะบนฉลาก